THE POWER OF CLOTHING / UNIQLO Sustainability

ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี
ของผู้ลี้ภัย

บริษัท ฟาสต์ รีเทลลิ่ง จำกัด (FR) เป็นพันธมิตรระดับโลกของ UNHCR หรือข้าหลวงใหญ่ ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ผู้ลี้ภัยก็เหมือนกับเราทุกคนที่มีความฝันถึงอนาคตที่สดใสยิ่งขึ้น บทความนี้เป็นการสัมภาษณ์ผู้ลี้ภัยสามราย เมื่อผู้คนถูกบังคับให้ออกจากถิ่นฐาน จึงมีการร่วมให้ความสำคัญของการให้การศึกษาแก่ผู้ลี้ภัยในการมีความหวัง การเติบโต และการใช้ชีวิต อย่างมีความหมายในสถานที่แห่งใหม่

เนื้อหา: Ryo Shinkawa รูปภาพ: ©UNHCR/Andrew McConnell、©UNHCR/Dominic Nahr

Maya Ghazal

Maya Ghazal

"ฉันมีความหวังและความฝันเหมือนเด็กคนอื่นๆ ฉันมีความสุขที่ได้ใช้เวลาร่วมกับครอบครัวและการออกเดินทางเป็นครั้งคราว ชีวิตวัยเด็กของฉันในซีเรีย เคยเป็นเรื่องปกติเช่นนั้น แต่ทุกสิ่งก็เปลี่ยนไปเพราะสงคราม ฉันจึงต้อง เริ่มชีวิตใหม่ในฐานะผู้ลี้ภัยที่อังกฤษ เมื่อฉันไปถึงที่นั่น ฉันตื่นเต้นมากที่จะได้กลับมาใช้ชีวิตตามปกติ แต่แล้วก็พบว่าต้องเผชิญกับคนที่ตราหน้าฉันว่าเป็น ผู้ลี้ภัย เมื่อได้ยินคำว่าผู้ลี้ภัย หลายคนมักจะนึกถึงคนที่ไม่มีการศึกษา บ้านแตกสาแหรกขาด ยากจน และโศกเศร้า แต่การกลายเป็นผู้ลี้ภัยไม่ได้หมายความว่าคนนั้นจะไม่มีคุณสมบัติพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ ผู้ลี้ภัย ก็สามารถประสบความสำเร็จได้ด้วยการศึกษาและความมานะบากบั่น ฉันเข้าศึกษาด้านวิศวกรรมการบินที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในอังกฤษ และได้บรรลุความฝันในการเป็นผู้ลี้ภัยหญิงชาวซีเรียคนแรกที่ได้รับใบอนุญาตนักบิน สิ่งที่ฉันประสบในฐานะผู้ลี้ภัยอาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้ในโลกนี้ ด้วยเหตุนี้ ฉันจึงต้องการเปลี่ยนแปลงทัศนคติแบบเหมารวมที่มีต่อผู้ลี้ภัย ฉันจึงรับ หน้าที่เป็น "High Profile Supporter" ของ UNHCR และแบ่งปันเรื่องราวเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยที่ต้องการเอาชนะความยากลำบากต่างๆ และความฝันที่ คนเหล่านั้นต้องการบรรลุในอนาคต ฉันจะทำให้ทุกคนเห็นว่าพวกเราไม่ได้ แตกต่างไปจากคนอื่นๆ และจะยังคงมุ่งมั่นมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ผู้ลี้ภัยต้องเผชิญในอนาคตต่อไป"

Ger Duany

Ger Duany

"อดีตผู้ลี้ภัยอย่างผมเป็นทั้งนักแสดง นายแบบ นักเขียน และนักกิจกรรม ผมได้ใช้ชีวิตมาแล้วหลายรูปแบบ และมีผลงานหลายชิ้นที่ผมรวบรวมไว้ ซึ่งสะท้อนถึงโอกาส ที่ผมเคยได้รับการนำเสนอตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ผมเคยอาศัยในค่ายผู้ลี้ภัยมาแล้วทั่วแอฟริกาไม่ว่าจะเป็นเอธิโอเปียหรือเคนยา รวมถึงเคยเป็นผู้พลัดถิ่นในซูดานซึ่งเป็นประเทศบ้านเกิด เพื่อให้มีชีวิตรอดจึงเดินทางไปยังสหรัฐอเมริกา แล้วผมก็ได้แสดงภาพยนตร์เกี่ยวกับผู้ลี้ภัย ทำงานเป็นนายแบบ และแม้แต่เขียนหนังสือเกี่ยวกับชีวิตการเป็นผู้ลี้ภัยของตัวเองเรื่อง "Walk Toward the Rising Sun (ก้าวย่างสู่อาทิตย์อุทัย)" นอกจากนี้ผมยังทำงานช่วยเหลือผู้ลี้ภัยร่วมกับ UNHCR ด้วย ตอนผมเป็นเด็ก ผมต้องแยกจากครอบครัวในค่ายผู้ลี้ภัยหลังจากหนีจากสงคราม กลางเมือง ผมจำได้ว่าตัวเองไม่มีเสื้อผ้า ดินสอ หรือสมุดสำหรับเขียน ABC และยังจำได้ว่ามีหลายต่อหลายคืนที่ท้องของเราว่างเปล่า ทำให้ผมได้เรียนรู้ที่จะใช้ชีวิต หัวเราะ และดูแลผู้ที่ต้องดิ้นรนในค่ายผู้ลี้ภัย เพราะผมรู้และเข้าใจชีวิตแบบนั้นเป็นอย่างดี ผมเห็นความสำคัญของการศึกษาที่มีต่ออนาคตของคนเหล่านั้น ในตอนนี้ผมให้ความสำคัญกับการศึกษาสำหรับเด็กเป็นพิเศษ ความหวังและความฝันสูงสุดของผมคือการที่สักวันหนึ่งตัวเองจะได้มีส่วนช่วยในการพลิกโฉมค่ายผู้ลี้ภัยให้กลายเป็นเมือง ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิต ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ลี้ภัยได้สร้างโอกาสที่ใหญ่ขึ้นสำหรับตัวเอง ถ้าถามว่าทำไม คำตอบคือเพราะผมเองก็เคยเป็นผู้ลี้ภัยมาก่อน และผมก็เคยมีความฝัน ในหัวว่าสักวันจะได้กลับไปยังอคาโบในซูดาน (ปัจจุบันอยู่ในเซาธ์ซูดาน) เพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่รวมถึงสร้างบ้านและประเทศของตัวเองขึ้นมาใหม่"

Ger Duany
Lam Mang

Lam Mang

"ฉันคงไม่ได้มาถึงจุดนี้ถ้าไม่มีพ่อแม่ที่คอยสนับสนุนให้ฉันเรียนหนังสือ ท่านทั้งสองเป็นคนใฝ่รู้และเคยบอกฉันว่า ‘พ่อแม่อาจไม่มีอะไรให้ลูกมากนัก แต่ก็อยากให้ลูก ได้เรียนหนังสือ จะได้มีความรู้และสติปัญญาเอาตัวรอดได้’ ในปี 2539 ฉันหนีจากการกดขี่ในเมียนมาร์ซึ่งเป็นประเทศบ้านเกิดมาที่ญี่ปุ่นตามลำพัง ตอนแรกฉันยังไม่รู้ภาษาญี่ปุ่น แต่ฉันก็ตั้งใจเรียนอย่างหนักจนจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Kwansei Gakuin ภายใต้โปรแกรมการศึกษาขั้นสูงสำหรับผู้ลี้ภัยของ UNHCR ปัจจุบันฉันทำงาน เป็นล่ามในญี่ปุ่น สำนักงานใหญ่ฝ่ายช่วยเหลือผู้ลี้ภัยของมูลนิธิสวัสดิการและ การศึกษาสำหรับชาวเอเชียได้ให้การสนับสนุนที่จำเป็นตอนที่แม่ฉันป่วยในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งรวมถึงการยืดระยะเวลาการพำนักออกไป จากประสบการณ์ทำให้ฉันเริ่มคิดถึงการช่วยเหลือผู้อื่นที่อยู่ในสถานการณ์เดียวกัน และตอนนี้ฉันก็ทำงานเป็นล่าม และที่ปรึกษาด้านผู้ลี้ภัยให้กับมูลนิธิ เนื่องจากบรรทัดฐานทางสังคมและวัฒนธรรมบางอย่างในญี่ปุ่นเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ยากสำหรับผู้ลี้ภัย ฉันจึงพยายามสื่อสารในแนวทาง ที่เข้าใจง่ายสำหรับทั้งสองฝ่ายในกรณีดังกล่าว ตัวอย่างเช่น เวลาฉันพาผู้ลี้ภัย ไปโรงพยาบาลหรือสำนักงานเมือง ฉันจะคอยมองตาพวกเขาเพื่อให้แน่ใจว่ามีความเข้าใจอย่างถ่องแท้โดยไม่ใช่แค่เป็นล่ามอย่างเดียว และจะคอยให้การสนับสนุนในการสื่อสาร ฉันจะยังคงทำงานเพื่อคนเหล่านั้นต่อไป โดยหวังว่าจะมีการสนับสนุนและความเข้าใจในตัวผู้ลี้ภัยในประเทศญี่ปุ่นมากยิ่งขึ้น อีกหนึ่งความฝันของฉันคือ การรับใช้ประเทศบ้านเกิดในสักวันหนึ่ง"

Lam Mang

แนวคิดริเริ่มของ FR และ UNHCR

ในฐานะพันธมิตรระดับโลกของ UNHCR ทาง FR มีแนวทางการดำเนินการที่ครอบคลุมความท้าทายต่างๆ ที่ผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นทั่วโลกต้องเผชิญ เราให้ความช่วยเหลือด้านเสื้อผ้า โอกาสในการ จ้างงาน และความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน รวมถึงการสนับสนุนการพึ่งพาตนเองของผู้ลี้ภัย FR ได้เข้าเยี่ยมค่ายผู้ลี้ภัยทั่วโลกเพื่อประเมิน ความต้องการด้านเสื้อผ้า อันนำไปสู่การส่งมอบสิ่งของจำเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้เรายังว่าจ้าง ผู้ลี้ภัย 121 คนให้ทำงานที่ยูนิโคล่สาขาต่างๆ ทั่วโลก ดูข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิดริเริ่มโดยเฉพาะได้ที่หน้า 17, 27 และ 35