THE POWER OF CLOTHING / UNIQLO Sustainability

การอยู่ภายใต้กฎเดียวกันทั่วโลกสามารถเป็นไปได้หรือไม่

Yanaiผมเห็นด้วยกับแนวคิดและการกระทำที่เน้นการคำนึงถึงผู้อื่นนะ แล้วคุณคิดว่า การคำนึงถึงผู้อื่นคือคำตอบของทุกปัญหาหรือเปล่า
Attaliน่าคิดนะ ถ้าเราสามารถทำให้การคำนึงถึงผู้อื่นเป็นส่วนสำคัญในการกระทำของ ผู้คนได้ เป็นกฎบางอย่างที่มีความเป็นสากล อย่างหลักนิติธรรม แม้จะเป็นเรื่องที่ทำให้ สำเร็จได้ยาก แต่สิ่งหนึ่งที่สหภาพยุโรปได้ริเริ่มแล้วคือการบูรณาการทางกฎหมาย โดยประเทศที่เป็นสมาชิกในสหภาพยุโรปได้ร่วมกันกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ขึ้นมา แม้ประชากรของสหภาพยุโรบมีอยู่ราวๆ 450 ล้านคนเท่านั้น ซึ่งน้อยกว่า 1 ใน 10 ของประชากรโลกทั้งหมด แต่การบูรณาการนี้ไม่ได้ถือว่าเล็กเลย แถมยังทำให้เกิดกฎหมาย ที่ใช้ร่วมกัน วิธีที่เราคิดและลงมือทำจะต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั่วโลกในตลาดที่ ไร้พรมแดนนี้ การทำให้สินค้ามีความเป็นสากลอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะทำให้ตลาด เปิดกว้างและมีความยั่งยืนได้
แน่นอนว่าการที่จะทำให้มนุษยชาติใช้ระบบกฎหมายเดียวกันนั้นเป็นเรื่องยาก แต่ก็มีโอกาสที่จะเป็นไปได้เหมือนกัน เช่น บริษัท ฟาสต์ รีเทลลิ่ง จำกัดและบริษัทผู้ผลิตเสื้อผ้าคู่แข่งได้ทำความตกลงร่วมกันในการจัดการกับวัตถุดิบ สภาพการทำงาน และเรื่องอื่นๆ เพื่อสร้างกฎที่จะใช้ร่วมกันและดำเนินกิจกรรมองค์กรบนพื้นฐานนั้น สิ่งนี้จะต้องเริ่มจากตัวบริษัทเอง ไม่ใช่ภาครัฐหรือฝ่ายบริหาร
Yanai ผมไม่คิดว่ากฎจะเป็นทางออกได้อย่างแท้จริงนะ ถ้าบริษัทเสื้อผ้าระดับโลก ร่วมมือกัน สุดท้ายเราอาจจะจบที่การทำอะไรตามแบบแผนและปกป้องสิทธิของเราเท่านั้น แต่ถึงอย่างนั้น คนญี่ปุ่นเองก็รู้สึกสบายใจกับการทำงานในกรอบแบบนั้น และผู้จัดการหลายคนก็อยากให้มีการบังคับใช้กฎร่วมกันด้วย ชาวญี่ปุ่นน่ะเคยชินกับการทำงานภายใต้ ข้อกำหนดหรือแนวทางจาก "ผู้มีอำนาจ" ตั้งแต่ยุคฟื้นฟูเมจิแล้ว เพราะคุณไม่ต้องคิดอะไร เองเลย เพียงแต่ทำงานหนักเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและเงื่อนไขที่รัฐบาลกำหนดเท่านั้น รัฐบาลเองก็มีความคิดอยากจะปกป้องและสนับสนุนบริษัทต่างๆ เหมือนกัน แต่รัฐบาลอาจจะไม่สามารถกลับลำได้เหมือนกันถ้าเกิดมีอะไรผิดแผนขึ้นมา

Rules shared globally — is it possible?

อิสระด้านหน้าที่การงาน vs. การจ้างงานแบบตลอดชีวิต

Yanaiคนฝรั่งเศสแก้ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำกันอย่างไร
Attaliหลักๆ เลยคือเรื่องภาษี ฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราภาษีสูงที่สุดในยุโรป ผู้คนคิดว่าเป็นราคาที่คุ้มค่าที่จะจ่ายเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำและยกระดับความเป็นอยู่ กับสวัสดิการให้ดีขึ้น ประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวียก็มีอัตราภาษีสูงเหมือนกัน แต่สิ่งที่ พวกเขาได้รับกลับมาคือการศึกษาและการรักษาพยาบาลแบบไม่มีเงื่อนไข อัตราภาษีที่สูง ถือเป็นระบบของการคำนึงถึงผู้อื่น และยังเป็นกฎที่คำนึงถึงผู้อื่นอีกด้วย แต่ประเทศ ที่ทำสวนทางกันก็มี อย่างประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศนี้อัตราภาษีค่อนข้างต่ำ แต่ในอเมริกา คุณจะเข้ารับการรักษาพยาบาลขั้นสูงแทบไม่ได้เลยถ้าไม่มีประกันสุขภาพ เรื่องคาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็นปัญหาใหญ่อีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งจำเป็นต้องมีภาษีคาร์บอนสำหรับสินค้าเพื่อแก้ไขปัญหาในจุดนี้ คาร์บอนฟุตพริ้นท์จึงไม่ใช่แค่ปัญหาเรื่องการผลิตเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการส่งออกและนำเข้าระหว่างประเทศ และปัญหานี้ไม่สามารถจะแก้ไขโดยประเทศใดประเทศหนึ่งได้ และที่สำคัญที่สุดคือบริษัทต่างๆ ทั่วโลกจะต้องร่วมมือกันในจุดนี้ นี่คือเหตุผลว่าทำไมปัญหาหลายๆ อย่างที่คุณ Yanai กล่าวจึงไม่สามารถแก้ไขได้บนพื้นฐานของประเทศ และต้องใช้กฎสากล

Yanai จำเป็นมากที่จะต้องไม่ใช้วิธีแบบลัทธิคุ้มครองหรือกลุ่มนิยม ผมเชื่อว่าการที่บริษัท แต่ละแห่งทั่วโลกสามารถมีสิทธิ์ในการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจได้อย่างอิสระเป็นเรื่องที่ จำเป็น ผมคิดว่าไม่ถูกต้องหรอกที่เราจะตั้งกฎขึ้นมาก่อน แล้วค่อยไปชี้นิ้วสั่งให้พวกเขา ทำอะไรในทิศทางเดียวกันแบบเป็นกลุ่มก้อน อัตราภาษีในประเทศญี่ปุ่นไม่ได้สูงมากในอดีต แต่พออัตราการเกิดใหม่ลดลงและประชากรมีอายุสูงขึ้น ประเทศของเราก็ปรับอัตราภาษี ให้สูงขึ้น เนื่องจากขาดแหล่งเงินทุนสำหรับสวัสดิการด้านสุขภาพและสังคม
Attaliในประเทศฝรั่งเศสมีลูกต่อครอบครัวเฉลี่ยอยู่ที่ 1.9 คน แต่ในประเทศญี่ปุ่นมีแค่ 1.4 เท่านั้น แล้วผู้หญิงในยุโรปส่วนใหญ่ก็ทำงานกัน ปกติแล้วผู้คนจะไม่ทำงานใน บริษัทเดิมจนกระทั่งเกษียณหรอก บางประเทศในยุโรปนี่เปลี่ยนงานกันทุก 3 ถึง 5 ปีด้วยซ้ำ ผู้คนใช้เวลาทั้งชีวิตไปกับการฝึกฝนและเรียนรู้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของตนเอง เหมือนกับการเล่นฟุตบอลที่ทีมเป็นเรื่องสำคัญ แต่การที่จะทำให้ทุกคนสามารถใช้ ความสามารถและศักยภาพของตัวเองได้อย่างเต็มที่เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน ทักษะ ส่วนบุคคลเป็นเรื่องที่สามารถฝึกฝนเพิ่มได้เพียงแค่ส่งผู้เล่นไปอยู่ทีมอื่นเพื่อเพิ่ม โอกาสในการเล่นให้มากขึ้น พนักงานก็เหมือนกัน สังคมนั้นมีหน้าที่ในการค้นหาจุดเด่น ของแต่ละบุคคลและทักษะที่ควรได้รับการพัฒนาตลอดช่วงชีวิตของพวกเขา นี่เป็นแนวคิด ของสังคมที่ยืดหยุ่นซึ่งให้ทั้งค่าตอบแทนและโอกาสในการฝึกฝนทักษะไปพร้อมกัน สุดท้ายคนที่พัฒนาตัวเองอยู่เรื่อยๆ ตลอดทั้งชีวิตจะกลับมาช่วยยกระดับ สังคมให้ดียิ่งขึ้น

Job freedom vs. lifetime employment

Yanaiอย่างที่คุณพูดมาว่าเดี๋ยวนี้ความคิดเกี่ยวกับการเป็นลูกจ้างชั่วชีวิต ของคนส่วนใหญ่ลดน้อยลงเรื่อยๆ เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าโอกาสการเปลี่ยนอาชีพมีส่วนช่วยในการพัฒนาความสามารถของแต่ละคนจริงๆ แต่ถ้าเรามองถึง ผลลัพธ์และไม่ได้มองว่าเป็นระบบ ผมคิดว่าการเป็นลูกจ้างชั่วชีวิตเป็นสิ่งที่ดี ทั้งกับบริษัทและตัวบุคคล หากบริษัทกลายเป็นบุคคลที่เปลี่ยนงานบ่อยๆ ก็ยากที่จะพัฒนาทั้งความรู้สะสมและความรู้แบบฝังลึก หากพูดถึงแง่การทำงาน และการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ผมคิดว่าการสื่อสารและความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น กับเพื่อนร่วมงานจะช่วยพัฒนาทักษะส่วนบุคคลและช่วยสนับสนุนบริษัทได้ แม้แต่คนที่มีพรสวรรค์อาจจะไม่ได้ทำงานเก่งในทันที ถ้าคุณเปลี่ยนบริษัท ถึงจะเก่ง แค่ไหนสุดท้ายก็ต้องเจอกับงานที่ต้องเรียนรู้ใหม่หมดอยู่ดี เราจะได้ใช้ศักยภาพของเรา อย่างเต็มที่เมื่อจุดมุ่งหมายของเราและบริษัทตรงกัน และทำงานโดยมีมุมมองในระยะยาว เหมือนกับการเล่นฟุตบอลเป็นทีม ผมคิดว่าการที่ทุกคนมองไปในทิศทางเดียวกันและ มีเป้าหมายเดียวกันกับผู้จัดการทีมเป็นเรื่องที่ดีกว่า แต่ผมคิดว่าการเป็นลูกจ้างชั่วชีวิตอาจฟังดูเป็นเรื่องที่เข้าใจยากหน่อยสำหรับคนยุโรป
Attali ผมว่าคนยุโรปบางคนเห็นด้วยกับแนวคิดของคุณ Yanai แต่พอมองอีกมุมหนึ่ง คนญี่ปุ่นเองเริ่มอยากเป็นอิสระจากการเป็นลูกจ้างชั่วชีวิต และต้องการอิสระในการทำงาน กันมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าความต้องการอิสระเหนือสิ่งอื่นใดจะดูเป็นเรื่องอันตรายก็ตาม แต่ผมคิดว่าเรื่องนี้กลายเป็นความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ทั่วโลกไปแล้วว่า ทุกคนมีอิสระ ในการเลือกวิธีและสถานที่ทำงานของตัวเอง ว่าไปแล้วผมก็มีคำถามเหมือนกัน คุณคิดว่าจะมีอะไรแบบ "ผู้บริโภคชั่วชีวิต" บ้างหรือเปล่า
Yanai ผมคิดว่าเราในฐานะบริษัทจะต้องมีเป้าหมายในการสร้างลูกค้าชั่วชีวิตขึ้นจากการดำเนินการของเรา แน่นอนว่าลูกค้ามีอิสระในการเลือก ถ้ามองในเรื่องการเป็นลูกจ้างชั่วชีวิต ผมก็ไม่คิดว่าเป็นระบบที่ดีเลิศนักหรอก การเป็นลูกจ้างชั่วชีวิตที่ไร้แก่นสาร นี่แหละที่อันตราย ผู้คนมีอิสระ บริษัทก็มีอิสระ เป็นหลักการที่ปฏิเสธไม่ได้ แต่ผมก็คิดว่าเราควรมีเป้าหมายเพื่อเป็นองค์กรที่นำความรู้สะสมของพนักงานมาประยุกต์ใช้ การเป็นลูกจ้างชั่วชีวิตมีจุดเด่นในแง่มุมนี้ การดำเนินการของบริษัทจะเกิดความสำเร็จไม่ได้ หากไร้ซึ่งพลังของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ผมเคยมีโอกาสได้พูดคุยกับชาวฝรั่งเศสบางคน เมื่อไม่นานมานี้ และผมได้รู้ว่าพวกเขาทำงานในประทศญี่ปุ่นกันอย่างกระตือรือร้นเอามากๆ
Attaliผมว่าเป็นเพราะพวกเขารู้ถึงคุณค่าจากการได้ออกมาจากประเทศของตัวเอง และได้รับประสบการณ์ที่พิเศษแบบนั้น ถ้ามีคนญี่ปุ่นมาทำงานที่ประเทศฝรั่งเศสเพิ่มขึ้น ก็ดีเหมือนกันนะ
Yanai ไม่ว่าใครก็สามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระและทำงานได้ทุกที่ และมีส่วนร่วมกับชุมชนในท้องที่และสร้างประโยชน์ให้กับสังคมได้ นี่อาจจะเป็นก้าวแรกของการทำให้โลกที่ไร้ซึ่งสงครามและความขัดแย้งกลายเป็นจริง ถ้ามองตรงนั้นแล้ว บทบาทและความรับผิดชอบของบริษัทก็ยิ่งใหญ่มากกว่าเดิมอีก
Attali ถ้าในอนาคตเราได้มีโอกาสพูดคุยกันในเรื่องอนาคตของบริษัทหรือเรื่องเกี่ยวกับ เสื้อผ้าในศตวรรษที่ 21 จากมุมมองระยะยาวก็น่าจะดีนะครับ ผมอยากจะมีโอกาสได้พบและพูดคุยกับคุณอีกครั้ง

Jacques Attali
Jacques Attali

Jacques Attali

ดร. Jacques Attali เป็นอาจารย์ด้าน เศรษฐศาสตร์ที่บรรยายการสอนใน มหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศฝรั่งเศส Attali เป็นที่ปรึกษาพิเศษให้กับประธานาธิบดี François Mitterrand แห่งประเทศฝรั่งเศส มาเป็นเวลาถึง 10 ปี นอกจากนี้ยังได้ก่อตั้ง สถาบันระหว่างประเทศขึ้นถึง 4 สถาบัน ได้แก่ Action contre la Faim, Eureka, EBRD, และ Positive Planet Positive Planet มีหน้าที่ในการปฏิรูปเศรษฐกิจโลกเพื่อประโยชน์ ของคนรุ่นต่อไป Attali ได้เขียนหนังสือมากกว่า 80 เล่มซึ่งได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ ถึง 22 ภาษา และมียอดจำหน่ายกว่า 10 ล้านเล่ม เขายังเป็นคอลัมนิสต์ให้กับนิตยสาร Les Echos ในประเทศฝรั่งเศส Attali มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก อย่างกว้างขวางในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้าน การเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมยุโรป