เส้นทางสู่โลก
ที่ดียิ่งขึ้น
เนื้อหา:Masashi Matsuie ภาพถ่าย:Kinya Ota

โลกหลังการระบาดของโคโรนาไวรัส และการส่งต่ออนาคตให้คนรุ่นหลัง
เมื่อ 10 ปีที่แล้ว นักทฤษฎีสังคมและนักเศรษฐศาสตร์ Jacques Attali ได้คาดการณ์และกล่าวเตือนถึง เชื้อโรคที่จะแพร่ระบาดไปทั่วโลกไว้ในหนังสือของเขา ซึ่งผลงานที่ผ่านมาของ Attali ได้กล่าวเน้นว่า หนทางในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมที่มนุษยชาติ กำลังเผชิญนั้นมี "เศรษฐกิจแห่งชีวิต" และหลักการคำนึงถึง ประโยชน์ของผู้อื่นเป็นส่วนประกอบสำคัญ แล้วปัจจัยที่สำคัญต่ออนาคตที่ยั่งยืนคืออะไร เสื้อผ้าจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เราจึงได้ติดต่อระหว่างกรุงปารีสภายใต้สถานการณ์เคอร์ฟิว และกรุงโตเกียว เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญทั้งสองได้พูดคุยกัน เป็นเวลานานถึงสองชั่วโมงเกี่ยวกับสิ่งที่จำเป็นสำหรับโลก หลังการระบาดของโคโรนาไวรัส
“เศรษฐกิจแห่งชีวิต" และ "สังคมแห่งความสุข”
Attaliนี่เป็นครั้งที่สองแล้วที่ผมมีโอกาสได้พบกับคุณ Yanai ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่มีโอกาสได้มาพูดคุยในประเด็นสำคัญแบบนี้กันอีกครั้ง
Yanaiเช่นกันครับ ดร. Attali เอาล่ะ ดร. Attali ผมคิดว่าตอนนี้ปัญหาใหญ่ที่สุดที่โลก
กำลังเผชิญอยู่คือการทำลายสิ่งแวดล้อม ความอยู่รอดของมนุษยชาติกำลังตกอยู่ใน
ภาวะอันตราย จนเราต้องถามกับตัวเองว่า "เรายังเหลือเวลาอีกมากแค่ไหน" วิกฤติการณ์
ครั้งนี้ยังถูกซ้ำเติมให้แย่ลงกว่าเดิมจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 (ในที่นี้จะเรียกว่า
"โรคระบาด")
Attaliปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมก็เป็นเรื่องสำคัญจริงๆ อย่างที่คุณว่า การพัฒนาด้านความยั่งยืนเป็นเรื่องที่สำคัญแน่นอนอยู่แล้ว แต่ผมคิดว่าแค่นั้นยังไม่พอ เราต้องอย่ามองข้ามปัญหาที่มีความสำคัญไม่แพ้กันอย่างเรื่องสังคมและประชาธิปไตย ลองคิดดูว่า
นโยบายทางการเมืองในปัจจุบันทำให้คนหมดกำลังใจหรือไม่ ผู้ใช้แรงงานได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมหรือไม่ เราปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยอย่างเหมาะสมหรือไม่ สังคมที่ยั่งยืนนั้นไม่เพียงแค่มีสิ่งแวดล้อมที่ดีเท่านั้น แต่ต้องมีสภาพเศรษฐกิจและระบบการปกครองที่ทำงานร่วมกันได้อย่างเหมาะสมด้วย ยิ่งไปกว่านั้น สังคมยังต้องมีการปฏิบัติ
โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของคนรุ่นต่อไปเป็นหลักเช่นกัน นั่นเป็นสังคมที่ผมเรียกว่า
"สังคมแห่งความสุข"
Yanai ในหนังสือ "L’économie de la vie (เศรษฐกิจแห่งชีวิต)" ที่คุณตีพิมพ์
คุณได้กล่าวไว้ว่า "เศรฐกิจแห่งชีวิต" จะกลายเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับโลกหลังการระบาดของโคโรนาไวรัส และยังได้กล่าวอีกว่า ความเป็นอยู่ที่ดี การศึกษา สุขอนามัย อาหาร เกษตรกรรม รวมถึงพลังงานสะอาดจะมีบทบาทสำคัญสำหรับคนรุ่นต่อไป
Attaliถูกต้องครับ สังคมที่เล็งเห็นคุณค่าในเรื่อง "เศรษฐกิจแห่งชีวิต" ถือเป็น
"สังคมแห่งความสุข" ที่ให้คุณค่ากับคนรุ่นต่อไป เสื้อผ้าเองก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ "เศรษฐกิจแห่งชีวิต" เพราะไม่เพียงต้องทำจากวัสดุที่ยั่งยืนเท่านั้น แต่ต้องมีความทนทาน
และช่วยยกระดับความเป็นอยู่และสุขอนามัยให้ดีขึ้น เพราะเสื้อผ้าที่ถูกทิ้งไปอย่างง่ายดายนั้น
จะไม่เป็นประโยชน์ต่อคนรุ่นต่อไป และในอนาคตจะมีความต้องการเสื้อผ้าที่เคารพต่อ
สิ่งแวดล้อมและมนุษยชาติมากขึ้น
Yanaiผมรู้สึกว่าโรคระบาดครั้งนี้เปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนไปอย่างมาก รวมถึงเสื้อผ้า
ที่ลูกค้าเลือกใช้อีกด้วย เสื้อผ้าที่ให้สัมผัสสบาย ดีต่อสุขภาพ และช่วยให้เราแสดงออกถึง
ตัวตนได้ดียิ่งขึ้นเมื่อสวมใส่นั้นกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก คงไม่ต้องบอกว่า วัสดุ
และกระบวนการผลิตที่มีความยั่งยืนเองก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ในขณะเดียวกัน เสื้อผ้ายังมีบทบาทสำคัญในการสร้างสิ่งแวดล้อมดียิ่งขึ้นสำหรับคนรุ่นต่อไป
Attaliนี่แหละคือการกระทำที่ให้ความสำคัญต่อคนรุ่นต่อไปเป็นหลัก พวกเราก็เหมือนเป็นคนรุ่นปู่สำหรับมนุษยชาติ เพราะฉะนั้นเราต้องทำตัวให้เหมือนคุณปู่สำหรับหลานๆ
ที่กำลังจะเกิดมาบนโลกใบนี้ ไม่ว่าจะทำอะไร เราต้องถามตัวเองอยู่เสมอว่า "สิ่งที่เรา
จะทำนั้นเป็นส่วนหนึ่งของ ‘เศรษฐกิจแห่งชีวิต’ หรือเปล่า"
Yanaiในช่วงวิกฤติการณ์โรคระบาดเช่นนี้ เราต้องคิดบวกและเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมเสื้อผ้าของเราให้มีความเป็นหนึ่งเดียวกับโลกด้วย แต่ถึงกระนั้น โลกของเรากลับมีความแตกแยกกันมากขึ้นทั้งในเรื่องสังคมและการเมือง
Attaliการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โรคระบาด และความขัดแย้งทั่วโลกล้วนเป็นความเสี่ยงอันยิ่งใหญ่ที่ปกคลุมเราอยู่เหมือนกับเมฆดำ แต่ก็เหมือนกับเวลาเล่นฟุตบอลที่เราต้องวิเคราะห์จุดแข็งของฝ่ายตรงข้ามและเข้าใจความเสี่ยงตอนที่เราแข่ง ถ้าประเทศไหน
มีจุดยืนทางการเมืองที่อยู่คนละขั้วกับเรา เราควรเริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจ
และเคารพในจุดนั้น ซึ่งนั่นอาจเปิดช่องทางให้เราสร้างความสัมพันธ์ได้โดยไม่ต้อง
กลายเป็นศัตรูกัน นั่นแหละคือสิ่งสำคัญในการเข้าใจอีกฝ่ายหนึ่ง

บทสัมภาษณ์มีขึ้นเมื่อวันที่ 14
และ 20 ตุลาคม 2563 ทางระบบ
วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ระหว่างสำนักงานของ
ดร. Attal
และสำนักงานอาริอาเกะของ
บริษัท ฟาสต์ รีเทลลิ่ง จำกัด
ผลักดันการแก้ไขปัญหาด้วยการคำนึงถึงผู้อื่น
Yanaiผู้คนทั่วโลกในตอนนี้เริ่มมีแนวคิดเห็นแก่ตัวกันมากขึ้นเรื่อยๆ และพวกเขาก็สนใจแต่ประเทศหรือสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวเท่านั้น ซึ่งความคิดแบบนี้ทำให้หลายแห่งบนโลก
เกิดปัญหาขึ้น ถ้าแต่ละประเทศเอาแต่เห็นแก่ตัวกันแบบนี้ ก็จะทำให้เกิดความขัดแย้ง
หรือบาดหมางกันได้ แถมยังมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นกันน้อยลงด้วย บางคนมองว่าปัญหาในเรื่องนี้เกิดจากความแตกต่างในเรื่องเผ่าพันธุ์หรือเชื้อชาติ ก็เลยไม่พยายาม
ที่จะมองดูหรือคิดถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมตรงนี้
พอไม่มีมุมมองสัมพันธ์แล้ว เราก็กลายเป็นคนโลกแคบที่เคารพแต่วัฒนธรรมของ
ตัวเองเท่านั้น มุมมองแคบๆ แบบนั้นมันไม่มีพลังเชิงบวกเลย แถมโรคระบาดก็มาทำให้สถานการณ์ตรงนี้แย่ลงไปกว่าเดิมอีก เรื่องนี้เป็นภาวะเร่งด่วนที่คนทั่วโลกจะต้องมี
ความสามัคคีกัน แต่ดูเหมือนจะไม่มีวี่แววอะไรเลย อีกสิ่งหนึ่งที่ผมกังวลคือ เราเริ่มที่จะพิจารณาอะไรจากมุมมองในด้านประวัติศาสตร์น้อยลง สภาพในปัจจุบันนี้เกิดจากการสั่งสมของสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตทั้งสิ้น ถ้าเราไม่รู้หรือไม่สนใจสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต เราจะ
ไม่เข้าใจปัจจุบันได้อย่างแท้จริง
Attali ก็ไม่ใช่ว่าไม่มีคนรู้นะว่าความขัดแย้งระหว่างมนุษย์ด้วยกันเองกำลังจะเกิดขึ้น
แบบตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 หลายคนเดาได้ว่าจะเกิดสงคราม แต่ก็หยุดไม่ได้
องค์การสหประชาชาติซึ่งมีภารกิจหลักในการป้องกันความขัดแย้งในลักษณะนั้น
เพิ่งจะเกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จบนี่เอง มนุษยชาติจะเรียนรู้ได้ก็ต่อเมื่อได้เจอกับ
วิกฤติแล้วพบจุดจบที่มีแต่ความสูญเสียเท่านั้น มุมมองแบบนั้นดูเหมือนจะมองโลก ในแง่ร้ายเกินไป ปัญญาและเหตุผลจึงเข้ามามีบทบาทในการสร้างพลังที่จะหยุดความ
สูญเสียเหล่านั้นก่อนที่จะเกิดขึ้น
ผมเชื่อว่ามีหลายหนทางที่จะหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง เพื่อที่จะเริ่มลงมือทำให้โลกของเรา
น่าอยู่ยิ่งขึ้น นี่แหละคือแนวคิดและทัศนคติที่อยู่เบื้องหลังของ "สังคมแห่งความสุข"
ความบาดหมางที่เกิดจากความแตกต่างทางวัฒนธรรม หรือปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเอง
ไม่ได้มีจุดที่ต่างกันเท่าไหร่ เพราะถือว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
การคำนึงถึงผู้อื่นถือเป็นความต้องการที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับ "สังคมแห่งความสุข"
ซึ่งจะเป็นทั้งจุดเริ่มต้นและแรงผลักดันเพื่อให้เราลงมือแก้ไขปัญหาเหล่านี้
Yanaiตอนนี้การเปลี่ยนความคิดมาสู่การปฏิบัติทำได้ยากมากในประเทศญี่ปุ่น คนญี่ปุ่น
ในอดีตมักคิดว่ารัฐบาลหรือฝ่ายปกครองมีหน้าที่ในการเลือกแนวทางและการทำงาน
ในอนาคต ไม่ใช่หน้าที่ของประชาชนคนใดคนหนึ่ง ซึ่งเป็นความคิดที่ฝังแน่นอยู่กับคนญี่ปุ่น
มากว่า "ผู้มีอำนาจ" จะต้องเป็นคนตัดสินใจและแก้ไขปัญหา ผมคิดว่านี่ยังไม่ดีพอ ทุกคน
จะต้องเริ่มลงมือทำด้วยตนเองไม่ว่าจะเป็นตัวบุคคลหรือบริษัท เพราะไม่อย่างนั้นแล้ว
สิ่งที่ควรเปลี่ยนแปลงได้ก็จะไม่เกิดความเปลี่ยนแปลง แล้วก็จะสายเกินไปถ้ามัวแต่รอให้
รัฐบาลหรือฝ่ายบริหารตัดสินใจ พวกเรามีชีวิตอยู่ในสังคมยุคโลกาภิวัตน์ ผมเชื่อว่า
การตัดสินใจและการลงมือทำใดๆ ก็ตามที่สามารถก้าวข้ามพรมแดนได้จะสามารถ
แพร่กระจายไปได้เร็ว และน่าเชื่อถือมากกว่าถ้ามีคนหรือบริษัทเป็นคนเริ่ม
Attali บริษัทที่มีตำแหน่งและพลังเพื่อส่งเสริมค่านิยมของตนเองได้สามารถก้าวสู่ความ
เป็นผู้นำใน "สังคมแห่งความสุข" และขับเคลื่อนสังคมให้ก้าวหน้าได้ เทรนด์นี้จะเติบโตรวดเร็วขึ้นในอนาคต ซึ่งผมเรียกบริษัทเหล่านี้ว่า "บริษัทเชิงบวก" ปรัชญาองค์กรต้องมี
การคำนึงถึงผู้อื่นเป็นหลักสำคัญ และการดำเนินกิจกรรมขององค์กรก็ต้องรับผิดชอบต่อสังคมด้วย ในความเห็นของผม บริษัท ฟาสต์ รีเทลลิ่ง จำกัด อยู่ในจุดที่จะเป็น
แบบอย่างในเรื่องนี้ได้ ผู้บริโภคอย่างเราควรจะซื้อสินค้าจาก "บริษัทเชิงบวก" ที่ใช้
แนวคิดเรื่องการคำนึงถึงผู้อื่นกันตั้งแต่ตอนนี้ ผู้ถือหุ้นจะตรวจสอบดูว่าบริษัทนั้นเป็น
"บริษัทเชิงบวก" หรือไม่ นักลงทุนจะเลือกลงทุนกับบริษัทที่สนับสนุน "สังคมแห่งความสุข"
ธนาคารที่จัดหาเงินทุนให้กับบริษัทก็จะเลือกบริษัทที่มีหลักการคำนึงถึงประโยชน์ของ
ผู้อื่นมากกว่า เทรนด์นี้จะค่อยๆ ซึมซับลงไปในสังคมทีละน้อย และจะส่งอิทธิพลต่อ
ผู้คนที่อยู่โดยรอบ
-
-
แนวคิดริเริ่มของยูนิโคล่ในการรับมือกับสถานการณ์ COVID-19
-
20 ปี แห่งการพัฒนา
ด้านความยั่งยืน -
เจเนอเรชัน Z:
การเปลี่ยนแปลงโลก -
ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
-
นวัตกรรมสินค้า
-
ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี
ของผู้ลี้ภัย -
RE.UNIQLO:สร้างคุณค่าใหม่ให้กับเสื้อของยูนิโคล่
-
ให้ความสำคัญกับผู้คน
-
สานฝันนักกีฬารุ่นเยาวน์
-
ตอบแทนให้สังคม
-
Unlocking the Power
of Clothing -
บรรษัทภิบาล
-
แนวทางปฏิบัติของ บริษัท ฟาสต์ รีเทลลิ่ง จำกัด