LifeWear
and
the
Future
Vol. 03
เสื้อผ้าและ
สิ่งแวดล้อม
LifeWear สามารถเป็นเสื้อผ้าที่เชื่อมโยงโลกของเรา
กับโลกในยุคถัดไปได้ แต่เสื้อผ้า
ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร
และคุณจะสามารถลงมือเพื่อช่วยเหลือโลกในวันนี้
ด้วยวิธีไหนบ้าง

ศาสตราจารย์ที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเกียวโต เขาเป็นศาสตราจารย์รับเชิญผู้มีชื่อเสียงของบัณฑิตวิทยาลัย ภาควิชาสื่อและการบริหารของมหาวิทยาลัยเคโอ จบการศึกษาระดับปรัชญาดุษฎีบัณฑิตจาก Royal College of Art ในลอนดอน โดยทำวิจัยที่มุ่งเน้นเรื่องจุดตัดระหว่างแฟชั่นและการออกแบบ โดยเฉพาะเรื่องของวิธีที่การออกแบบมีอิทธิพลต่อสังคม

หลังจากทำหน้าที่เป็นไดเรคเตอร์ด้านแฟชั่นให้กับนิตยสาร Wallpaper เคอร์ติสก็ได้มาเป็นหัวหน้าบรรณาธิการให้กับ Elle UK ตั้งแต่ปี 2017 ถึง 2019 เธอได้ก่อตั้ง The Calendar ขึ้นในปี 2021 ซึ่งเป็นสื่อสไตล์ใหม่ที่ผสานเรื่องแฟชั่นชั้นสูงและนิเวศวิทยาเข้าด้วยกัน
LifeWear
and
the
Future
Vol. 03
เสื้อผ้าและ
สิ่งแวดล้อม
LifeWear สามารถเป็นเสื้อผ้าที่เชื่อมโยงโลกของเรา
กับโลกในยุคถัดไปได้ แต่เสื้อผ้า
ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร
และคุณจะสามารถลงมือเพื่อช่วยเหลือโลกในวันนี้
ด้วยวิธีไหนบ้าง
ศาสตราจารย์ที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเกียวโต เขาเป็นศาสตราจารย์รับเชิญผู้มีชื่อเสียงของบัณฑิตวิทยาลัย ภาควิชาสื่อและการบริหารของมหาวิทยาลัยเคโอ จบการศึกษาระดับปรัชญาดุษฎีบัณฑิตจาก Royal College of Art ในลอนดอน โดยทำวิจัยที่มุ่งเน้นเรื่องจุดตัดระหว่างแฟชั่นและการออกแบบ โดยเฉพาะเรื่องของวิธีที่การออกแบบมีอิทธิพลต่อสังคม

หลังจากทำหน้าที่เป็นไดเรคเตอร์ด้านแฟชั่นให้กับนิตยสาร Wallpaper เคอร์ติสก็ได้มาเป็นหัวหน้าบรรณาธิการให้กับ Elle UK ตั้งแต่ปี 2017 ถึง 2019 เธอได้ก่อตั้ง The Calendar ขึ้นในปี 2021 ซึ่งเป็นสื่อสไตล์ใหม่ที่ผสานเรื่องแฟชั่นชั้นสูงและนิเวศวิทยาเข้าด้วยกัน

ผลกระทบที่เสื้อผ้ามีต่อสิ่งแวดล้อม
เสื้อผ้าสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างไรบ้าง?
อุตสาหกรรมเสื้อผ้าทำหน้าที่ในการผลิตและจำหน่ายเสื้อผ้าสำหรับผู้ซื้อและสวมใส่ แม้จะฟังดูเป็นเรื่องง่าย แต่โครงสร้างนี้ทำให้สภาพแวดล้อมต้องเผชิญกับปัญหาอย่างหนักหน่วง สถานการณ์ในปัจจุบันเป็นอย่างไร และพวกเราแต่ละคนสามารถช่วยเหลือเรื่องนี้ด้วยวิธีการใด เราได้พูดคุยกับดาอิจิโระ มิซุโนะ ศาสตราจารย์ประจำสถาบันเทคโนโลยีแห่งเกียวโต และแอนน์-มารี เคอร์ติส อดีตหัวหน้าบรรณาธิการของนิตยสาร Elle UK และผู้ก่อตั้งนิตยสาร The Calendar magazine สื่อด้านความยั่งยืนเพื่อหาคำตอบกันในเรื่องนี้ เรามาดูกันว่า 3 สิ่งที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมีอะไรกันบ้าง
การปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ก๊าซชนิดนี้คือตัวการที่ทำให้สภาพอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ก๊าซ CO2 ที่ถูกปล่อยออกมาขณะใช้งานรถยนต์ เครื่องบิน หรือเครื่องจักรชนิดอื่นๆ ไปจนถึงการเผาขยะหรือเชื้อเพลิงฟอสซิลก่อให้เกิดการปล่อยมลพิษในปริมาณมาก แม้เราจะมีส่วนที่ทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในการใช้ชีวิตประจำวัน แต่สถานการณ์นี้เริ่มทวีความรุนแรงเกินกว่าจุดที่จะสามารถรับได้ เหมือนที่เห็นจากปัญหาอุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีที่เพิ่มสูงขึ้น อุตสาหกรรมเสื้อผ้าคือต้นตอหลักที่ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว "กระบวนการโลกาภิวัตน์ทำให้เกิดการผลิตสิ่งทอ การตัดเย็บเสื้อผ้า และการจำหน่ายในสถานที่ต่างๆ ซึ่งต้องการการขนส่งระยะไกลจากประเทศหนึ่งไปสู่อีกประเทศหนึ่ง การเปิดตัวสินค้าใหม่ในแต่ละซีซันถือเป็นเรื่องปกติ และเมื่อลูกค้าทิ้งเสื้อผ้าเก่าไปเพื่อซื้อตัวใหม่ ก็แปลว่ากำลังยอมรับกรอบความคิดนี้โดยปริยาย" ดาอิจิโระ มิซุโนะ อธิบายว่า แม้จะซื้อเสื้อผ้ามาแล้ว เราก็ยังสร้างมลพิษเพิ่มเติมจากการซักและการตากให้แห้ง การรีดเสื้อผ้า ไปจนถึงการตกแต่งและซ่อมแซมเสื้อผ้า แล้วเราสามารถหาทางออกให้ปัญหานี้ได้หรือไม่ "เราสามารถเลือกไอเทมที่ไม่ต้องใช้ทรัพยากรเพื่อดูแลรักษามากนัก เช่น เสื้อผ้าที่สามารถซักได้ด้วยมือ และเราก็จะดูแลไอเทมที่ซื้อมาเพื่อให้ใช้งานได้นานๆ" มิซุโนะกล่าว
มลพิษทางสิ่งแวดล้อม
อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสร้างมลพิษต่อดินและน้ำอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำหรือลำธารต่างปนเปื้อนสารเคมีทางการเกษตรและถูกใช้เพื่อเพิ่มอัตราผลผลิตคอตตอน ไปจนถึงน้ำเสียปริมาณมากที่เกิดจากกระบวนการทางเคมีในการย้อมและการเคลือบผิวสะท้อนหยดน้ำให้กับเนื้อผ้า แม้จะมีข้อกำหนดที่เข้มงวดและการเพิ่มความตระหนักรู้ในเรื่องนี้ มิซุโนะกล่าวว่า "สสารหลายชนิดที่เกิดขึ้นตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงวันที่เสื้อผ้าถูกจำหน่ายล้วนสร้างผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสภาพแวดล้อม" เช่น วัสดุใช้ครั้งเดียวสำหรับบรรจุภัณฑ์เพื่อทำการเคลื่อนย้ายสินค้า เป็นต้น
การใช้ทรัพยากรอย่างผิดวิธี
โลกของแฟชั่นปลี่ยนแปลงคอลเลคชันไปตามฤดูกาล การผลิตก็ปรับให้ตรงตามเทรนด์ที่คาดการณ์ไว้ แต่ถ้าการคาดการณ์ไม่ถูกต้อง สินค้าที่ขายไม่ออกก็จะเหลือค้างเป็นจำนวนมาก และหากไม่มีใครสวมใส่เสื้อผ้าเหล่านี้ ทรัพยากรที่ถูกใช้ไปในการผลิตก็จะสูญเปล่าโดยสิ้นเชิง เช่นเดียวกันกับการที่ลูกค้าตัดสินใจทิ้งเสื้อผ้าที่สวมใส่เพียงหนึ่งหรือสองซีซัน เพียงเพราะว่ามัน 'ตกเทรนด์' "ในยุโรปได้ห้ามการทิ้งเสื้อผ้าที่ขายไม่ออกแล้ว ขณะที่กระทรวงสิ่งแวดล้อมของญี่ปุ่นคาดการณ์ว่าพื้นที่ฝังกลบขยะที่มีอยู่จะหมดภายในปี 2040" มิซุโนะกล่าว "หลายคนทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคเชื่อว่าการมีสินค้าคงคลังปริมาณมากและการกำจัดสินค้าทิ้งคือสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ถึงเวลาแล้วที่เราควรทบทวนมุมมองนี้ใหม่อีกที" หากผู้ผลิตเริ่มผลิตสินค้าโดยมีเป้าหมายที่จะขายจนหมด ผู้บริโภคจะต้องปรับทัศนคติในการครอบครองสิ่งของและสร้างระบบคุณค่าใหม่ขึ้นมา แล้วสิ่งนี้จะเปลี่ยนแปลงโลกได้ยังไง
การลงมือทำเพื่ออนาคต
วิธีในการช่วยเหลือมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ สวมใส่ หรือทิ้งเสื้อผ้าที่ไม่ใช้งานแล้ว
เลือกเสื้อผ้าที่คุณอยากซ่อมแซม
การออกแบบที่มีความคงทนทางอารมณ์ คือแนวคิดอย่างหนึ่ง ซึ่งหมายถึงสิ่งที่เราต้องการใช้งานและดูแลรักษาให้คงอยู่ไปเป็นเวลานาน "การเลือกซื้อไอเทมที่มีความทนทานและบ่งบอกความเป็นตัวตนของเราสามารถช่วยชะลอวงจรของการบริโภคได้" มิซุโนะกล่าว "คุณควรเลือกไอเทมมีคุณภาพและตอบโจทย์การใช้งานที่ทำให้คุณอยากใส่มันไปนานๆ" แอนน์-มารี เคอร์ติสกล่าว ผ้าเดนิมและผ้าแคนวาสเคลือบคือหนึ่งตัวอย่างของผ้าที่จะยิ่งดูดียิ่งขึ้นเมื่อยิ่งใช้งานถ้าดูแลรักษาอย่างถูกวิธี
เลือกดีไซน์ที่เรียบง่าย
องค์ประกอบเพื่อความสวยงาม เช่น ผ้าลูกไม้แต่งขอบ หมุดและเลื่อม หรือส่วนประกอบอื่นๆ ที่มีความบอบบางอาจทำให้อายุการใช้งานของเสื้อผ้าลดลง ควรเลือกไอเทมที่สามารถซักและทำให้แห้งได้ง่าย
การปรับแต่ง

การซ่อมแซมหรือตกแต่งเสื้อผ้าที่ฉีกขาดหรือมีรอยเปื้อนจะช่วยไอเทมดังกล่าวมีเอกลักษณ์แสดงออกถึงความเป็นตัวเองได้มากขึ้น "ลองเปลี่ยนกระดุมบนเสื้อแจ็คเก็จหรือเสื้อเชิ้ตของตัวเองดู" แอนน์-มารีแนะนำ "การทำแบบนี้จะช่วยให้เสื้อผ้าเก่าๆ กลายเป็นของใหม่ที่ดูมีเอกลักษณ์ยิ่งขึ้น"
การซักด้วยมือ

น้ำยาซักผ้าเองก็สามารถสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ การทำความสะอาดเฉพาะจุดที่มีรอยเลอะจึงไม่เพียงช่วยลดมลพิษจากสารเคมีเท่านั้น แต่ยังอ่อนโยนกับเสื้อผ้าและช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานได้อีกด้วย "ฉันจะไม่ใช้ดรายเออร์เพราะมันเสี่ยงที่จะทำให้เสื้อผ้าได้รับความเสียหาย" แอนน์-มารีกล่าว
แบ่งเสื้อผ้าใส่ด้วยกัน

เสื้อผ้าเป็นไอเทมที่สามารถแบ่งปันกับเพื่อนและครอบครัวในลักษณะเดียวกันกับเสื้อผ้าที่เช่ามาสวมใส่ในโอกาสพิเศษได้ "และการที่ให้กลุ่มเพื่อนมาร่วมปาร์ตี้เพื่อแบ่งปันเสื้อผ้ากันใส่น่าจะเป็นเรื่องที่สนุกไม่น้อย" แอนน์-มารีกล่าว
ซื้อเท่าที่ต้องการ
การเลือกใช้บริการพิมพ์ลายที่ออกแบบเอง เช่น เสื้อยืดลายออริจินอลก็เป็นอีกหนทางหนึ่งในการช่วยลดปริมาณเสื้อผ้าเหลือทิ้ง
คำนึงถึงวัสดุของเนื้อผ้า
ปุ๋ยคือต้นกำเนิดหลักของมลพิษ แต่วัตถุดิบของผ้าธรรมชาติอย่างผ้าลินิน
ได้มาจากพืชที่เติบโตได้ดีเมื่อได้รับแสงแดดและฝนจนแทบไม่ต้องใช้ปุ๋ย ผ้าใยสังเคราะห์จากวัสดุรีไซเคิลเองก็ถือเป็นตัวเลือกที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมได้เช่นกัน

ปุ๋ยคือต้นกำเนิดหลักของมลพิษ แต่วัตถุดิบของผ้าธรรมชาติอย่างผ้าลินิน
ได้มาจากพืชที่เติบโตได้ดีเมื่อได้รับแสงแดดและฝนจนแทบไม่ต้องใช้ปุ๋ย ผ้าใยสังเคราะห์จากวัสดุรีไซเคิลเองก็ถือเป็นตัวเลือกที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมได้เช่นกัน
นำมาใช้ใหม่
คุณจะนำเสื้อผ้าไปใช้ใหม่ได้อย่างไร การคิดหาวิธีการใหม่ๆ ในเรื่องนี้ก็สามารถสนุกและสร้างสรรค์ได้ เราอาจนำเสื้อผ้าไปรีไซเคิลเพื่อเอาเนื้อผ้าไปประยุกต์ให้เป็นสิ่งใหม่ หรือนำไปฉีกเป็นชิ้นๆ เพื่อใช้เป็นผ้าสำหรับเช็ดทำความสะอาดก็ได้ "ลองใช้จินตนาการของตัวเองในแบบที่สร้างสรรค์ดู เพราะนั่นคือหัวใจสำคัญของแฟชั่น" แอนน์-มารีกล่าว เริ่มต้นจากสิ่งที่คุณรู้สึกชื่นชอบ เพราะความพยายามเพียงเล็กน้อยก็ส่งผลที่ยิ่งใหญ่ได้

คุณจะนำเสื้อผ้าไปใช้ใหม่ได้อย่างไร การคิดหาวิธีการใหม่ๆ ในเรื่องนี้ก็สามารถสนุกและสร้างสรรค์ได้ เราอาจนำเสื้อผ้าไปรีไซเคิลเพื่อเอาเนื้อผ้าไปประยุกต์ให้เป็นสิ่งใหม่ หรือนำไปฉีกเป็นชิ้นๆ เพื่อใช้เป็นผ้าสำหรับเช็ดทำความสะอาดก็ได้ "ลองใช้จินตนาการของตัวเองในแบบที่สร้างสรรค์ดู เพราะนั่นคือหัวใจสำคัญของแฟชั่น" แอนน์-มารีกล่าว เริ่มต้นจากสิ่งที่คุณรู้สึกชื่นชอบ เพราะความพยายามเพียงเล็กน้อยก็ส่งผลที่ยิ่งใหญ่ได้
การแจกจ่ายเพื่อมอบชีวิตใหม่ให้เสื้อผ้า
หากคุณต้องการเลิกใช้เสื้อผ้าแล้ว ลองดูว่ามีใครที่ต้องการมันหรือเปล่า คุณสามารถนำเสื้อผ้าไปให้ร้านขายของมือสองหรือนำไปบริจาคก็ได้ และในทางกลับกัน ก็สามารถหาเสื้อผ้าของตัวเองผ่านช่องทางนี้ได้ด้วยเช่นเดียวกัน
การเก็บเสื้อผ้าเพื่อบริจาค
เมื่อเสื้อผ้าหมดอายุการใช้งาน ให้หากล่องรีไซเคิลให้ผ้าเหล่านั้น "ถ้าคุณทิ้งเสื้อผ้าลงถังขยะไปเฉยๆ ผ้าพวกนั้นจะไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้" มิซุโนะกล่าวเตือน

เมื่อเสื้อผ้าหมดอายุการใช้งาน ให้หากล่องรีไซเคิลให้ผ้าเหล่านั้น "ถ้าคุณทิ้งเสื้อผ้าลงถังขยะไปเฉยๆ ผ้าพวกนั้นจะไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้" มิซุโนะกล่าวเตือน
ลงมือทำเพื่ออนาคต
การส่งเสริมให้มีการพูดคุยระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคคือเรื่องจำเป็น แอนน์-มารี เคอร์ติส กล่าว "เมื่อผู้บริโภคพูดออกมา ผู้ผลิตก็มีแนวโน้มที่จะลงมือทำมากขึ้น" แล้วยูนิโคล่ช่วยเหลืออะไรได้บ้าง วิธีการจัดการปัญหาหลัก 3 ข้อที่ได้กล่าวถึงใน หน้า100-101 ของบริษัทมีดังนี้
การจัดการปัญหาเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

มลพิษส่วนใหญ่ที่ปล่อยออกมาจะเกิดขึ้นระหว่างขั้นตอนจัดหาวัตถุดิบและการขนส่งสินค้าไปยังร้านสาขา ซึ่งคิดเป็นปริมาณ 94.6% (พิจารณาจากสินค้าที่จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น แหล่งที่มา: "การสำรวจด้านแฟชั่นและทรัพยากร ประจำปีงบประมาณ 2020" ของกระทรวงสิ่งแวดล้อม) แล้วเราจะลดตัวเลขนี้ลงได้อย่างไร วิธีหนึ่งคือการกำหนดเป้าหมายสำหรับการจัดซื้อและการผลิต วางแผน และติดตามความคืบหน้าของเรา นอกจากการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดส่งสินค้าจากโรงงานแล้ว เรายังได้นำมาตรการประหยัดพลังงานมาใช้ที่ร้านค้าทั่วญี่ปุ่น โดยเฉพาะที่ร้านสาขา Maebashi Minami IC ซึ่งใช้ช่องรับแสงในการนำแสงธรรมชาติเข้ามาในพื้นที่ร้าน และแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาเพื่อสร้างพลังงาน
การจัดการปัญหาด้านมลพิษทางสิ่งแวดล้อม

ดังที่คุณได้เห็นจากป้ายสินค้าบนเสื้อผ้าของเรา เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกสบายใจในการซื้อสินค้าของเรา เราจึงตรวจสอบกระบวนการผลิตอย่างละเอียดและมั่นใจว่าโรงงานมีอุปกรณ์ที่ทันสมัย หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงล่าสุดคือการนำวัสดุกันน้ำที่ปราศจาก PFAS ซึ่งเป็นฟลูออไรด์อินทรีย์ที่ไม่สามารถย่อยสลายในธรรมชาติได้มาใช้ เป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ในปี 2013 จึงกลายเป็นผลสำเร็จในฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวปี 2017 หลังจากนั้น PFAS ก็ไม่ได้ถูกใช้ในเสื้อผ้าชั้นนอกหรือร่มพับอีกเลย นอกจากนี้ เรายังได้กำหนดแนวทางที่ชัดเจนเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการและคาดหวังจากพันธมิตรการผลิต รวมถึงการเลือกสารเคมีที่เหมาะสม การใช้งานที่มีความปลอดภัยในโรงงาน และการบำบัดน้ำเสียอย่างเหมาะสม
การจัดการปัญหาด้านการใช้ทรัพยากรอย่างผิดวิธี

หากคุณเคยเห็นรถเข็นในร้านสาขาของยูนิโคล่ที่มีสินค้าลดราคาอยู่ นั่นคือวิธีการที่เราช่วยให้สินค้าตกซีซันจำหน่ายได้ และถือเป็นหนึ่งจากหลายแนวทางที่ยูนิโคล่มุ่งมั่นลงมือทำเพื่อไม่จะไม่ทิ้งเสื้อผ้าไป เรายังติดตามความต้องการของตลาดเพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างสินค้าคงคลังที่เกินความจำเป็นตั้งแต่ต้นด้วย การควบคุมสต็อกสินค้าและฟังความคิดเห็นจากลูกค้าช่วยให้เราพัฒนาและปรับปรุงสินค้าได้ ข้อมูลที่ลูกค้าได้แบ่งปันให้กับเราที่ร้านสาขาในแต่ละวันถือเป็นแหล่งของแรงบันดาลใจชั้นเยี่ยม
เกณฑ์ปัจจุบันและข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับความคืบหน้าของบริษัทในการบรรลุเป้าหมายเหล่านี้สามารถดูได้ บนเว็บไซต์ของยูนิโคล่
- Illustrations by Yuki Maeda
- Text by Miyuki Sakamoto
วันวางจำหน่ายของสินค้าแต่ละชนิดอาจแตกต่างกันไปตามสินค้า ราคาที่ระบุไว้ทั้งหมดเป็นราคาปัจจุบัน ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2025 โดยรวมภาษีแล้ว และอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้