สู่สถานที่ที่ปลอดภัยและชีวิตใหม่ในญี่ปุ่น

สู่สถานที่ที่ปลอดภัยและชีวิตใหม่ในญี่ปุ่น

Masamba มาจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ปัจจุบันทำงานที่ UNIQLO GINZA

THE POWER OF

CLOTHING

มิถุนายน 2024 ฉบับที่ 26

ขณะที่เขากำลังเดินอยู่บนท้องถนนด้วยท่าทีวิตกกังวล ใครสักคนก็ถามเขาว่า "เป็นอะไรหรือเปล่า"

สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกในอดีตเคยเป็นอาณานิคมของเบลเยียมและได้รับเอกราชตั้งแต่นั้นมา เป็นประเทศที่เต็มไปด้วยสงครามกลางเมืองและเผชิญกับความไม่สงบ ซึ่งจะเห็นได้จากการที่ผู้คนจำนวนมากพยายามหลบหนีออกนอกประเทศ
การกดขี่ในบ้านเกิดของ Masamba ทำให้เขาไม่สามารถใช้ชีวิตได้ เขาเคยเป็นครูสอนวิชาภูมิศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยเมื่อสิบหกปีที่แล้ว เพื่อนของเขาที่เป็นข้าราชการเตือนให้เขาลี้ภัยไปญี่ปุ่น

ภาพถ่ายโดย Shinsuke Kamioka

Masamba เดินทางออกจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขา และขึ้นเครื่องบินต่อแล้วต่อเล่า จนพาเขามาสู่ประเทศญี่ปุ่น เขาไม่มีเพื่อนหรือครอบครัว และพูดภาษาญี่ปุ่นไม่ได้ เขาจองห้องพักไว้หนึ่งคืนในโรงแรมแห่งหนึ่งในย่านกินซ่า แต่เขาก็รู้ว่าต้องหาที่พักที่ราคาถูกกว่านี้ ระหว่างที่เขายื่นขอสถานะผู้ลี้ภัย แม้ว่าเขาจะไม่รู้ว่าต้องไปที่ไหนหรือเริ่มจากตรงไหนก็ตาม ตอนนั้นคือปี 2008 เขายังไม่มีสมาร์ทโฟน

เช้าวันรุ่งขึ้น เขาเช็คเอาท์ออกจากโรงแรม และลากกระเป๋าเดินทางไปรอบกินซ่า เขาคงดูสับสน เพราะมีชายชาวญี่ปุ่นเดินเข้ามาหาเขาและถามเขาเป็นภาษาอังกฤษว่า "เป็นอะไรหรือเปล่า กำลังหาอะไรอยู่หรือเปล่า"
เขาดูท่าทางใจดี เขาจึงยิ้มให้และตอบกลับไปว่า
"คุณพอจะบอกผมได้ไหมครับว่าผมจะไปขึ้นทะเบียนเป็นผู้ลี้ภัยกับสหประชาชาติได้ที่ไหน"
"เดี๋ยวเรามาหาคำตอบด้วยกัน" ชายคนนั้นบอกเขา แล้วพาเขากลับไปที่สำนักงานของบริษัท ชายคนนี้และเพื่อนร่วมงานของเขาค้นหาที่อยู่ แล้วโทรไปล่วงหน้า จากนั้นก็เขียนที่อยู่ใส่กระดาษและยื่นให้กับเขา
"คุณต้องไปที่นี่" พวกเขากล่าว "คุณขึ้นรถไฟใต้ดินไปคนเดียวได้ไหม"
"ผมเพิ่งมาถึงเมื่อวาน ยังไม่รู้ว่าอะไรอยู่ที่ไหนครับ"
"คุณพอจะมีเงินไหม"
"นิดหน่อยครับ"
"โอเค งั้นยื่นที่อยู่นี้ให้คนขับแท็กซี่ เขาจะพาคุณไปที่นั่นเอง" ชายคนนั้นเรียกแท็กซี่ให้เขา

เราได้พูดคุยกับ Masamba ในพื้นที่เฉพาะสำหรับพนักงานในร้านเท่านั้น เขาเป็นผู้ฟังที่ดีและพูดจาสุภาพ

เราได้พูดคุยกับ Masamba ในพื้นที่เฉพาะสำหรับพนักงานในร้านเท่านั้น เขาเป็นผู้ฟังที่ดีและพูดจาสุภาพ

พนักงานกว่า 30% ของ UNIQLO GINZA มาจากต่างประเทศ เรามีมุมมองที่แตกต่างหลากหลาย

สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (อ้างอิงจากข้อมูลของกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น)

ตั้งอยู่ทางตอนกลางของทวีปแอฟริกา เป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่อันดับที่ 11 ของโลก มีภูมิอากาศที่หลากหลาย ตั้งแต่ภูเขาน้ำแข็งบริเวณชายแดนด้านตะวันออก ไปจนถึงป่าฝนเขตร้อน ที่ราบสูง และลุ่มน้ำที่แผ่ขยายในวงกว้าง เมืองหลวง Kinshasa ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำคองโก เป็นเมืองทันสมัยที่มีจำนวนประชากรเทียบเท่ากับประชากรในใจกลางกรุงโตเกียว ระบบเผด็จการนำไปสู่สงครามกลางเมือง และจากการประมาณการของ UNHCR พบว่าประชาชนกว่าแปดล้านคนได้หนีออกนอกบ้านของพวกเขา

ประวัติศาสตร์

ประเทศแห่งนี้อยู่ภายใต้การครอบครองอาณานิคมของเบลเยียมในศตวรรษที่ 20 และได้รับเอกราชในปี 1960 หลังจากนั้นไม่นาน การลอบสังหารและรัฐประหารหลายครั้งก็ทำให้ประเทศแตกแยก ซึ่งยังคงได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งจนถึงทุกวันนี้ โดยในอดีตเคยเปลี่ยนชื่อเป็นสาธารณรัฐซาอีร์เมื่อปี 1971 และเปลี่ยนมาเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกในปี 1997 จนถึงปัจจุบัน แต่ความไม่สงบทางการเมืองยังคงดำเนินต่อไป

เศรษฐกิจ

เป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก แม้ว่าจะอุดมไปด้วยแร่ธาตุก็ตาม ตามรายงานสรุปสินค้าแร่ประจำปี 2024 ประเทศนี้มีโคบอลต์สะสมมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก ทองแดงมากเป็นอันดับสี่ และดีบุกมากเป็นอันดับแปด แต่รายได้ส่วนใหญ่นำไปใช้กับการสู้รบ ด้วยเหตุนี้ ประชาชนจึงได้รับผลประโยชน์เพียงเล็กน้อยจากความมั่งคั่งดังกล่าว

วัฒนธรรม

ด้วยกลุ่มวัฒนธรรมและภาษาที่หลากหลาย ตลอดจนรอยประทับทางวัฒนธรรมภายใต้การปกครองของเบลเยียมที่ฝังรากลึกอยู่หลายปี อีกทั้งราวๆ 80% ของประชากรที่นับถือศาสนาคริสต์ ประเทศแห่งนี้จึงไม่สามารถนิยามได้ด้วยสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมเดียว ระบบการศึกษาเต็มไปด้วยปัญหา

ความช็อกเมื่อสัมผัสกับวัฒนธรรมการนอนแบบฟุตง

เมื่อมาถึงชิบูย่า Masamba พยายามจ่ายค่าแท็กซี่ด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐ แต่คนขับดูไม่พอใจ และพูดว่า "ผมรับเงินนั่นไม่ได้" แต่นั่นคือทั้งหมดที่เขามี คนขับจึงพาเขาไปที่ธนาคาร ขณะที่เขากรอกแบบฟอร์มแลกเงิน ชาวแอฟริกันอีกคนก็เดินเข้ามาหาเขา "เป็นอะไรหรือเปล่า" เขาถาม เมื่อ Masamba อธิบาย ชาวแอฟริกันคนนั้นก็กล่าวว่า "ที่อยู่นี้เป็นสาขาของสหประชาชาติที่ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย แต่คุณไม่สามารถสมัครขอสถานะผู้ลี้ภัยจากที่นั่นได้" หลังจากตกลงกับคนขับแท็กซี่ได้แล้ว เขาก็ไปสถานีตำรวจที่ใกล้ที่สุดกับชาวแอฟริกันคนนั้น

เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานอยู่ในขณะนั้นให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์แก่เขา "ไปที่ JAR (สมาคมผู้ลี้ภัยแห่งประเทศญี่ปุ่น)" เขากล่าว จากนั้นก็ให้ที่อยู่ใหม่แก่เขา แล้วเรียกแท็กซี่อีกคัน ที่สมาคมผู้ลี้ภัยแห่งประเทศญี่ปุ่น Masamba ได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการสมัครสถานะผู้ลี้ภัยที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง นอกจากนี้ พวกเขายังให้แผนที่โตเกียว ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ชีวิตในเมือง และจัดหาที่พักระยะสั้นให้กับเขา พอมาถึงที่หอพัก เขารู้สึกงุนงงเมื่อพบว่าเขาจะไม่นอนในห้องที่มีเตียง แต่กลับเป็นฟูกฟุตงที่วางอยู่บนพื้นเสื่อทาทามิ เขาไม่เคยเห็นฟุตงมาก่อนในชีวิต แต่เพราะน้ำใจจากคนแปลกหน้า วันที่สองอันยาวนานในญี่ปุ่นของเขาก็จบลงด้วยดี

อพยพจากบ้านเกิดเพราะพิษจากภัยสงคราม

ผมเกิดในปี 1975 ที่เมือง Mbanza-Ngungu เมืองทางตะวันตกของคองโก เมืองอยู่ห่างจากเมืองหลวง Kinshasa ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 100 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยคองโกและมีประชากรประมาณ 100,000 คน แม้ว่าตอนนี้คองโกจะเป็นเอกราชแล้ว แต่ก็ยังเผชิญกับความขัดแย้ง การลอบสังหาร และการรัฐประหาร ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก และมีผู้คนจำนวนมากหนีออกจากประเทศ

การเลือกตั้งประธานาธิบดีและรัฐสภาครั้งแรกจัดขึ้นในปี 2006 แต่หลังจากที่ผมแสดงออกว่าสนับสนุนพรรคฝ่ายค้าน ผมก็เริ่มกลัวเรื่องความปลอดภัยของตัวเอง "นายต้องออกจากประเทศให้ไว" เพื่อนที่ทำงานในรัฐบาลบอกผม "ไม่เช่นนั้นนายจะถูกจับกุม"

เนื่องจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเคยเป็นอาณานิคมของเบลเยียม ภาษาฝรั่งเศสจึงเป็นภาษาราชการของเรา ผมคุ้ยเคยกับวัฒนธรรมยุโรป ก่อนออกจากคองโก ผมคิดจะไปที่สถานกงสุลฝรั่งเศสและอังกฤษเพื่อขอวีซ่า แต่น่าเสียดายเพราะมีแต่คนที่ไปรีบเร่งยื่นใบสมัครขอวีซ่าเช่นเดียวกับผม จนคิวยาวที่ด้านนอกตั้งแต่ตีสี่

ไม่มีทางรู้ได้เลยว่าผมจะได้วีซ่าเมื่อไหร่ ผมจึงขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากเพื่อนที่เป็นข้าราชการของผม "นายรอไม่ได้แล้ว เอานี่ไปและรีบไปที่สถานกงสุลญี่ปุ่น" เขาพูดพร้อมยื่นหนังสือเดินทางของข้าราชการที่เขาทำไว้ให้ผม แน่นอนว่าผมได้วีซ่าไปญี่ปุ่น และเริ่มเตรียมตัวเดินทาง

ในฐานะครูสอนวิชาภูมิศาสตร์และคณิตศาสตร์ ผมมองว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศทันสมัยที่มีเทคโนโลยีล้ำหน้า แต่ผมไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับภาษาหรือวัฒนธรรมของญี่ปุ่น ยุโรปเต็มไปด้วยผู้ลี้ภัยจากแอฟริกา แต่ผมไม่เคยได้ยินว่ามีใครมาขอลี้ภัยในญี่ปุ่นมาก่อน ในเมื่อผมได้วีซ่าแล้ว ผมต้องลองดู

จากสถานะผู้ลี้ภัยสู่การทำงาน

ขั้นตอนในการขอสถานะผู้ลี้ภัยในญี่ปุ่นมีดังนี้

1. สมัครขอสถานะผู้ลี้ภัย

หลังจากเข้ามาในประเทศแล้ว ให้ยื่นขอสถานะผู้ลี้ภัยที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ส่งแบบฟอร์ม สัมภาษณ์ รอผล

2. ไปที่สมาคมผู้ลี้ภัยแห่งประเทศญี่ปุ่น (JAR) หรือสำนักงานใหญ่เพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัย (RHQ)

องค์กรเหล่านี้จะช่วยจัดหาเงินทุนสำหรับค่าครองชีพ ค่าที่อยู่อาศัย และค่ารักษาพยาบาล ในระหว่างที่ผู้สมัครขอสถานะผู้ลี้ภัยรอผลการพิจารณา

3. สถานะวีซ่า "กิจกรรมเฉพาะพิเศษ" (Designated Activities)

รับใบอนุญาตผู้พำนักชั่วคราวสำหรับกิจกรรมเฉพาะพิเศษและรอผล

4. สถานะผู้ลี้ภัย

ผู้ที่ได้รับสถานะผู้ลี้ภัยสามารถทำงานและอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นได้ สำนักงานใหญ่เพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัย (RHQ) มีโปรแกรมสนับสนุนด้านการศึกษาสำหรับผู้พำนักในญี่ปุ่น ซึ่งรวมถึงการเรียนภาษาญี่ปุ่น คู่มือการใช้ชีวิต และการให้ความช่วยเหลือในการจัดหางาน

5. การจ้างงาน

ระหว่างหาตำแหน่งงานที่ต้องการสมัคร ผู้พำนักใหม่จะพัฒนาทักษะทางภาษา และความเข้าใจด้านวัฒนธรรมการทำงานของญี่ปุ่น ปัจจุบันมีเพียงบริษัทบางส่วนเท่านั้นที่จ้างคนที่ได้รับสถานะผู้ลี้ภัย

เมนูผัดไก่สไตล์ฝรั่งเศสเปิดประตูสู่โอกาสใหม่

ผมเริ่มจัดระเบียบชีวิต สมาคมผู้ลี้ภัยแห่งประเทศญี่ปุ่น (JAR) ใจดีและใจเย็นกับการช่วยผมกรอกแบบฟอร์มต่างๆ อย่างมาก เมื่อเอกสารครบถ้วน ผมก็ไปที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง แต่การขอสถานะผู้ลี้ภัยไม่ใช่เรื่องง่ายขนาดนั้น หนังสือเดินทางข้าราชการของผมมีปัญหา เรื่องของเรื่องก็คือเพื่อนผมรู้ว่าถ้าใช้ชื่อจริงของผม ผมอาจถูกกักตัวไม่ให้ออกนอกประเทศได้ เขาจึงใช้ชื่อทั่วไปที่แพร่หลายในระบอบการเมืองแทน ผมได้วีซ่าในทันทีเลยเพราะผมสมัครไปญี่ปุ่นในฐานะข้าราชการ

ในสายตาของรัฐบาลญี่ปุ่น การใช้ชื่อปลอมบนหนังสือเดินทางถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ซึ่งหมายความว่าผมไม่สามารถยื่นขอลี้ภัยได้ ใบสมัครของผมถูกปฏิเสธ และผมได้รับเพียงบัตรประจำตัวคนต่างด้าวเท่านั้น ซึ่งหมายความว่าผมไม่มีสิทธิ์ทำงาน หากไม่ได้รอสถานะผู้ลี้ภัยอยู่ ผมก็ต้องหาวิธีอื่นถ้าต้องการอยู่ในญี่ปุ่น ผมได้เรียนเรียนภาษาญี่ปุ่นและได้รับการสนับสนุนทุกรูปแบบจากการไปสำนักงานใหญ่เพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัย

สิ่งหนึ่งที่พวกเขาบอกผมคือ Kalabaw No Kai ซึ่งเป็นองค์กรที่ช่วยเหลือแรงงานต่างด้าว ผู้อพยพ และผู้ลี้ภัย นอกจากการสอนภาษาญี่ปุ่นแล้ว พวกเขายังสอนเกี่ยวกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นด้วย ซึ่งผมเข้าร่วมอย่างแข็งขัน ผมได้รับความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องจาก Kalabab No Kai ซึ่งผมรู้สึกซาบซึ้งและขอบคุณอย่างมาก

ผมพูดภาษาฝรั่งเศสได้คล่อง แต่ภาษาอังกฤษไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ผู้จัดงานสื่อสารกับเราโดยใช้ภาษาอังกฤษ และด้วยระดับภาษาอังกฤษของผม ผมไม่สามารถถ่ายทอดสถานการณ์ที่ซับซ้อนในคองโก หรือพูดคุยเกี่ยวกับสงครามกลางเมืองอันน่าสลดใจ หรืออธิบายจุดยืนของตัวเองแก่คนเหล่านั้นได้

มีอยู่ช่วงหนึ่ง Kalabab No Kai เป็นเจ้าภาพจัดงานเทศกาลที่มุ่งส่งเสริมการสื่อสารระหว่างผู้อพยพ ผู้ลี้ภัย ผู้จัดงาน และชุมชน เราหวังจะหารายได้ด้วยการทำอาหารและขายอาหาร หน้าที่ผมคือทำผัดไก่สไตล์ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเมนูที่ผมชอบเมื่อตอนอยู่ที่คองโก แล้วจู่ๆ อาจารย์วิทยาลัยชาวญี่ปุ่นที่กำลังจัดจานก็เดินเข้ามาบอกผมว่า "รสชาติทำให้นึกถึงสมัยที่อยู่ที่นั่น" ปรากฎว่าเขาเคยทานอาหารแบบนี้ในฝรั่งเศสมาก่อน "คุณพูดภาษาฝรั่งเศสได้ไหม" ผมเริ่มบทสนทนาด้วยภาษาฝรั่งเศส ศาสตราจารย์คนนี้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในคองโก และเข้าใจว่าทำไมผมถึงหนีมา เขาจึงช่วยอธิบายให้คนอื่นๆ ที่ Kalabaw No Kai รับรู้ถึงสถานการณ์ของผม ซึ่งช่วยกระตุ้นให้ผู้คนกลุ่มนี้เข้าใจยิ่งขึ้นว่าผมควรได้รับสถานะผู้ลี้ภัย และในที่สุดเราก็ได้ว่าจ้างทนายความ และเข้าสู่การพิจารณาคดี

กว่าเราจะชนะคดีและผมได้รับสถานะผู้ลี้ภัย ผมก็อยู่ที่ญี่ปุ่นมาเจ็ดปีแล้ว มันยากที่จะสรุปว่าปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ผมรู้สึกขอบคุณมากที่มีงานที่มั่นคงที่ UNIQLO GINZA และมองเห็นอนาคตที่ดี

ผมมีลูกชายสองคน คนหนึ่งอายุสี่ขวบ อีกคนอายุเจ็ดเดือน การเลี้ยงลูกเป็นเรื่องที่ยากมาก! เพราะลูกชายของผมเติบโตในญี่ปุ่น พวกเขาจึงไม่สามารถกลับไปคองโกเพื่อรู้จักรากเหง้าของตัวเองได้ ลูกชายคนโตพูดภาษาลิงกาลาได้ ซึ่งเป็นภาษาหนึ่งของคองโก นอกเหนือจากภาษาอังกฤษ ญี่ปุ่น และฝรั่งเศส เขาพูดภาษาอังกฤษได้คล่องที่สุด อนิเมะที่เขาชื่นชอบเป็นภาษาอังกฤษ นั่นคงบอกอะไรคุณได้ ภรรยาของผมถนัดภาษาฝรั่งเศสมากที่สุด เธอฟังภาษาอังกฤษได้ดี แต่มันยากสำหรับเธอที่จะพูด

ภาษาลิงกาลาเป็นภาษาที่ใช้กันทั่วไปใน Kinshasa เมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก คนทางตะวันออกพูดภาษาสวาฮีลี ส่วนทางตะวันตกพูดภาษา Kikongo และภาคกลางภาษา Tshilubà นี่คือสี่ภาษาหลัก แต่ถ้านับชนเผ่า เรามีกลุ่มวัฒนธรรมต่างๆ ถึง 450 กลุ่ม และในกลุ่มวัฒนธรรมเหล่านี้ ภาษาลิงกาลาเป็นภาษาที่คนส่วนใหญ่พูดได้

เนื่องจากเราไม่มีหนังสือเรียนภาษาลิงกาลา เราจึงพยายามใช้ภาษานี้พูดคุยกับลูกๆ ทุกวัน คุณไม่จำเป็นต้องมีหนังสือเพื่อเรียนรู้คำศัพท์และการพูด ผมอยากให้ลูกรู้จักภาษาลิงกาลา เพราะผมหวังว่าจะมีวันที่เราได้กลับไปคองโกอีกครั้ง

สิ่งหนึ่งที่ผมไม่เคยลืมเกี่ยวกับชีวิตในคองโกคือสภาพอากาศ ผมมาจากภาคตะวันตก ซึ่งมีภูมิอากาศแบบสะวันนา และมีน้ำทะเลช่วยทำให้อากาศเย็นสบาย เหมือนฤดูใบไม้ร่วงในญี่ปุ่น แต่อากาศเป็นเช่นนี้ตลอดทั้งปี เมื่อชาวโปรตุเกสมาเยือนอาณาจักรคองโกเป็นครั้งแรกในศตวรรษที่ 15 พวกเขาเข้ามาทางตะวันตกผ่านทางมหาสมุทร การค้าทาสไม่ได้เกิดขึ้นจนกระทั่งศตวรรษที่ 16 และในช่วงหนึ่งสภาพการค้าค่อนข้างสมดุล จนถึงถึงศตวรรษที่ 16 เราก็ถูกชาวยุโรปรุกราน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางอันมืดมนในประวัติศาสตร์

ผมเริ่มจัดระเบียบชีวิต สมาคมผู้ลี้ภัยแห่งประเทศญี่ปุ่น (JAR) ใจดีและใจเย็นกับการช่วยผมกรอกแบบฟอร์มต่างๆ อย่างมาก เมื่อเอกสารครบถ้วน ผมก็ไปที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง แต่การขอสถานะผู้ลี้ภัยไม่ใช่เรื่องง่ายขนาดนั้น หนังสือเดินทางข้าราชการของผมมีปัญหา เรื่องของเรื่องก็คือเพื่อนผมรู้ว่าถ้าใช้ชื่อจริงของผม ผมอาจถูกกักตัวไม่ให้ออกนอกประเทศได้ เขาจึงใช้ชื่อทั่วไปที่แพร่หลายในระบอบการเมืองแทน ผมได้วีซ่าในทันทีเลยเพราะผมสมัครไปญี่ปุ่นในฐานะข้าราชการ

ในสายตาของรัฐบาลญี่ปุ่น การใช้ชื่อปลอมบนหนังสือเดินทางถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ซึ่งหมายความว่าผมไม่สามารถยื่นขอลี้ภัยได้ ใบสมัครของผมถูกปฏิเสธ และผมได้รับเพียงบัตรประจำตัวคนต่างด้าวเท่านั้น ซึ่งหมายความว่าผมไม่มีสิทธิ์ทำงาน หากไม่ได้รอสถานะผู้ลี้ภัยอยู่ ผมก็ต้องหาวิธีอื่นถ้าต้องการอยู่ในญี่ปุ่น ผมได้เรียนเรียนภาษาญี่ปุ่นและได้รับการสนับสนุนทุกรูปแบบจากการไปสำนักงานใหญ่เพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัย

สิ่งหนึ่งที่พวกเขาบอกผมคือ Kalabaw No Kai ซึ่งเป็นองค์กรที่ช่วยเหลือแรงงานต่างด้าว ผู้อพยพ และผู้ลี้ภัย นอกจากการสอนภาษาญี่ปุ่นแล้ว พวกเขายังสอนเกี่ยวกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นด้วย ซึ่งผมเข้าร่วมอย่างแข็งขัน ผมได้รับความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องจาก Kalabab No Kai ซึ่งผมรู้สึกซาบซึ้งและขอบคุณอย่างมาก

Masamba ทำทุกอย่างในแผนกสุภาพบุรุษที่ UNIQLO GINZA ตั้งแต่ดูแลคลังสินค้าไปจนถึงปรับแก้เสื้อผ้า

ผมพูดภาษาฝรั่งเศสได้คล่อง แต่ภาษาอังกฤษไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ผู้จัดงานสื่อสารกับเราโดยใช้ภาษาอังกฤษ และด้วยระดับภาษาอังกฤษของผม ผมไม่สามารถถ่ายทอดสถานการณ์ที่ซับซ้อนในคองโก หรือพูดคุยเกี่ยวกับสงครามกลางเมืองอันน่าสลดใจ หรืออธิบายจุดยืนของตัวเองแก่คนเหล่านั้นได้

มีอยู่ช่วงหนึ่ง Kalabab No Kai เป็นเจ้าภาพจัดงานเทศกาลที่มุ่งส่งเสริมการสื่อสารระหว่างผู้อพยพ ผู้ลี้ภัย ผู้จัดงาน และชุมชน เราหวังจะหารายได้ด้วยการทำอาหารและขายอาหาร หน้าที่ผมคือทำผัดไก่สไตล์ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเมนูที่ผมชอบเมื่อตอนอยู่ที่คองโก แล้วจู่ๆ อาจารย์วิทยาลัยชาวญี่ปุ่นที่กำลังจัดจานก็เดินเข้ามาบอกผมว่า "รสชาติทำให้นึกถึงสมัยที่อยู่ที่นั่น" ปรากฎว่าเขาเคยทานอาหารแบบนี้ในฝรั่งเศสมาก่อน "คุณพูดภาษาฝรั่งเศสได้ไหม" ผมเริ่มบทสนทนาด้วยภาษาฝรั่งเศส ศาสตราจารย์คนนี้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในคองโก และเข้าใจว่าทำไมผมถึงหนีมา เขาจึงช่วยอธิบายให้คนอื่นๆ ที่ Kalabaw No Kai รับรู้ถึงสถานการณ์ของผม ซึ่งช่วยกระตุ้นให้ผู้คนกลุ่มนี้เข้าใจยิ่งขึ้นว่าผมควรได้รับสถานะผู้ลี้ภัย และในที่สุดเราก็ได้ว่าจ้างทนายความ และเข้าสู่การพิจารณาคดี

กว่าเราจะชนะคดีและผมได้รับสถานะผู้ลี้ภัย ผมก็อยู่ที่ญี่ปุ่นมาเจ็ดปีแล้ว มันยากที่จะสรุปว่าปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ผมรู้สึกขอบคุณมากที่มีงานที่มั่นคงที่ UNIQLO GINZA และมองเห็นอนาคตที่ดี

ผมมีลูกชายสองคน คนหนึ่งอายุสี่ขวบ อีกคนอายุเจ็ดเดือน การเลี้ยงลูกเป็นเรื่องที่ยากมาก! เพราะลูกชายของผมเติบโตในญี่ปุ่น พวกเขาจึงไม่สามารถกลับไปคองโกเพื่อรู้จักรากเหง้าของตัวเองได้ ลูกชายคนโตพูดภาษาลิงกาลาได้ ซึ่งเป็นภาษาหนึ่งของคองโก นอกเหนือจากภาษาอังกฤษ ญี่ปุ่น และฝรั่งเศส เขาพูดภาษาอังกฤษได้คล่องที่สุด อนิเมะที่เขาชื่นชอบเป็นภาษาอังกฤษ นั่นคงบอกอะไรคุณได้ ภรรยาของผมถนัดภาษาฝรั่งเศสมากที่สุด เธอฟังภาษาอังกฤษได้ดี แต่มันยากสำหรับเธอที่จะพูด

ภาษาลิงกาลาเป็นภาษาที่ใช้กันทั่วไปใน Kinshasa เมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก คนทางตะวันออกพูดภาษาสวาฮีลี ส่วนทางตะวันตกพูดภาษา Kikongo และภาคกลางภาษา Tshilubà นี่คือสี่ภาษาหลัก แต่ถ้านับชนเผ่า เรามีกลุ่มวัฒนธรรมต่างๆ ถึง 450 กลุ่ม และในกลุ่มวัฒนธรรมเหล่านี้ ภาษาลิงกาลาเป็นภาษาที่คนส่วนใหญ่พูดได้

เนื่องจากเราไม่มีหนังสือเรียนภาษาลิงกาลา เราจึงพยายามใช้ภาษานี้พูดคุยกับลูกๆ ทุกวัน คุณไม่จำเป็นต้องมีหนังสือเพื่อเรียนรู้คำศัพท์และการพูด ผมอยากให้ลูกรู้จักภาษาลิงกาลา เพราะผมหวังว่าจะมีวันที่เราได้กลับไปคองโกอีกครั้ง

สิ่งหนึ่งที่ผมไม่เคยลืมเกี่ยวกับชีวิตในคองโกคือสภาพอากาศ ผมมาจากภาคตะวันตก ซึ่งมีภูมิอากาศแบบสะวันนา และมีน้ำทะเลช่วยทำให้อากาศเย็นสบาย เหมือนฤดูใบไม้ร่วงในญี่ปุ่น แต่อากาศเป็นเช่นนี้ตลอดทั้งปี เมื่อชาวโปรตุเกสมาเยือนอาณาจักรคองโกเป็นครั้งแรกในศตวรรษที่ 15 พวกเขาเข้ามาทางตะวันตกผ่านทางมหาสมุทร การค้าทาสไม่ได้เกิดขึ้นจนกระทั่งศตวรรษที่ 16 และในช่วงหนึ่งสภาพการค้าค่อนข้างสมดุล จนถึงถึงศตวรรษที่ 16 เราก็ถูกชาวยุโรปรุกราน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางอันมืดมนในประวัติศาสตร์

Masamba ทำทุกอย่างในแผนกสุภาพบุรุษที่ UNIQLO GINZA ตั้งแต่ดูแลคลังสินค้าไปจนถึงปรับแก้เสื้อผ้า

Masamba ทำทุกอย่างในแผนกสุภาพบุรุษที่ UNIQLO GINZA ตั้งแต่ดูแลคลังสินค้าไปจนถึงปรับแก้เสื้อผ้า

สูญหายและหาเจออีกครั้ง

สิ่งที่ผมชอบเกี่ยวกับญี่ปุ่นก็คือความเงียบสงบ ไม่ว่าคุณจะอยู่บนรถบัสหรือรถไฟ ผู้โดยสารจะไม่ค่อยคุยอะไรกัน แค่นั่งและอยู่กับตัวเองเงียบๆ ขณะที่ในคองโก รถบัสและรถไฟเป็นเหมือนปาร์ตี้ที่ผู้คนต่างส่งเสียงดังคุยกัน

และมันเหลือเชื่อมาก หากคุณทำของบางอย่างหายในญี่ปุ่น คุณจะมีโอกาสได้คืน มีครั้งหนึ่งที่ผมลืมกระเป๋าไว้ในรถไฟ ในนั้นมีโทรศัพท์มือถือและกระเป๋าเงินของผม เมื่อผมตระหนักได้ว่าลืมของ ผมก็แจ้งเจ้าหน้าที่สถานีและพวกเขาก็ลงมือค้นหากันอย่างเอาจริงเอาจัง แต่ก็หาไม่พบ ต่อมาผมได้ติดต่อกับศูนย์รับแจ้งทรัพย์สินหาย และพวกเขาแจ้งว่าพบกระเป๋าของผมแล้ว

ผมจึงไปรับของกลับมาและพบว่าโทรศัพท์และกระเป๋าเงินยังอยู่ข้างใน ไม่มีอะไรสูญหาย ผมไม่อยากจะเชื่อเลย ผมรู้สึกขอบคุณมากสำหรับใครก็ตามที่นำมันมาคืน หากเรื่องนี้เกิดขึ้นในคองโกล่ะก็ บอกได้เลยว่ากระเป๋านั้นหายไปแล้ว และต่อให้เจอกระเป๋า ของข้างในกระเป๋าก็คงหายไปหมดแล้ว

ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยให้พ้นจากความมืดมน

ผมเริ่มทำงานที่ UNIQLO GINZA ในปี 2017

ทำมาร่วมเจ็ดปีแล้ว ตอนนี้ผมเป็นคนดูแลเสื้อผ้าผู้ชายที่ชั้นแปด เก้า และสิบ และยังช่วยคิดเงิน ช่วยลูกค้าในห้องลอง สต๊อกของบนชั้น และดูแลร้านอีกด้วย พนักงานส่วนใหญ่มาจากต่างประเทศ งานยุ่งมากแต่ก็น่าพอใจมากเช่นกัน

ผมหาทางพาภรรยามาจากคองโกได้ เรามีลูกด้วยกันสองคนที่นี่ ผมต้องขอบคุณงานนี้ที่ให้ความมั่นคงและความอุ่นใจ และทำให้ครอบครัวของผมมีความสุข แม้ว่าการมาญี่ปุ่นจะเป็นเรื่องบังเอิญ แต่ผมโชคดีที่ได้มาอยู่ในที่ที่เงียบสงบเช่นนี้

ผมอยากจะช่วยเหลือผู้ลี้ภัยคนอื่นๆ ที่มีเรื่องราวเหมือนกับผม เมื่อคุณต้องติดอยู่ในขั้นตอนการสมัครสถานะผู้ลี้ภัย มันรู้สึกเหมือนชีวิตมืดแปดด้าน ทุกวันคือความไม่แน่นอน ไม่มีใครรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ผมอยากช่วยเหลือคนเหล่านั้นเพื่อเป็นการตอบแทนน้ำใจที่ผมเคยได้รับ ตอนนี้ผมไม่ได้รู้สึกหลงทางเหมือนวันแรกๆ ในญี่ปุ่นอีกต่อไป เพราะผมได้พบเจอกับคอมมิวนิตี้ของชาวแอฟริกันคนอื่นๆ จากคองโกที่มาอาศัยอยู่ที่นี่ การสร้างเครือข่ายกับคอมมิวนิตี้เหล่านี้เป็นแรงสนับสนุนที่สำคัญ

ผมหมั่นเข้าไปอัปเดตสถานการณ์ในคองโกทุกวัน เพื่อดูว่าพวกเขาสามารถสถาปนาประชาธิปไตยและทำให้สถานการณ์มีเสถียรภาพได้หรือยัง ผมอยากจะพาครอบครัวกลับบ้าน หวังว่าวันนั้นจะมาถึง

UNIQLO COFFEE บนชั้น 12 ของ UNIQLO GINZA และ UNIQLO FLOWER บนชั้น 1 ริมถนน
UNIQLO COFFEE บนชั้น 12 ของ UNIQLO GINZA และ UNIQLO FLOWER บนชั้น 1 ริมถนน

UNIQLO COFFEE บนชั้น 12 ของ UNIQLO GINZA และ UNIQLO FLOWER บนชั้น 1 ริมถนน

การจ้างงานผู้ลี้ภัยของยูนิโคล่ผ่านโครงการ RISE

ด้วยความพยายามที่จะใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ในฐานะบริษัทเครื่องแต่งกาย ยูนิโคล่จึงได้รวบรวมสิ่งของต่างๆ ในกล่องรีไซเคิลที่ร้านของเรา คัดแยกสิ่งที่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกครั้ง และส่งเสื้อผ้าไปยังค่ายผู้ลี้ภัยทั่วโลกเพื่อตอบสนองความต้องการ จนถึงปัจจุบัน มีสินค้ามากกว่า 54.6 ล้านรายการที่ส่งไปยังแปดสิบประเทศและดินแดน (ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2023)

โครงการ RISE (การสนับสนุนและเสริมศักยภาพผู้ลี้ภัย) เปิดตัวในปี 2011 มีแนวคิดในการจ้างผู้ลี้ภัยเข้ามาทำงานที่ร้านยูนิโคล่ สำหรับผู้พลัดถิ่นที่ต้องการมีชีวิตใหม่ที่มั่นคง โอกาสในการจ้างงานถือเป็นสิ่งสำคัญ

ยูนิโคล่จึงร่วมมือกับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรเพื่อทำการสัมภาษณ์ถึงความสามารถของบุคคล พนักงานทุกคนจะได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับค่านิยมของยูนิโคล่และวิธีการให้บริการลูกค้า รวมถึงหลักสูตรภาษาญี่ปุ่น (หรือภาษาท้องถิ่นหากอยู่ต่างประเทศ)

กรอบการฝึกอบรมนี้ยังรวมถึงคู่มือสำหรับผู้จัดการ บุคลากรด้านการฝึกอบรม และพนักงานร้านค้า โดยมุ่งส่งเสริมความเข้าใจข้ามวัฒนธรรมอย่างลึกซึ้ง

จากข้อมูลจนถึงเดือนเมษายน 2024 ผู้ลี้ภัยจำนวน 46 คนได้รับการจ้างงานในร้านค้า 33 แห่งทั่วญี่ปุ่น ซึ่งแนวคิดนี้กำลังแพร่กระจายไปยังร้านค้าของเราในสหรัฐอเมริกาและยุโรป รวมถึงบริษัทในเครือ Fast Retailing Group การมองพนักงานทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของทีมเดียวกัน ไม่ว่าจะมีพื้นฐานมาจากไหนหรือสัญชาติอะไร เป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมบริษัทของเรา

การชวนผู้พลัดถิ่นมาเป็นพนักงานของยูนิโคล่เป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้ความหลากหลายกลายเกิดขึ้นจริงและอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา

ช่วยเหลือผู้คนให้อยู่อาศัยและทำงานในญี่ปุ่น: สำนักงานใหญ่เพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัย (RHQ)

สำนักงานใหญ่เพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัย (RHQ) ก่อตั้งโดยรัฐบาลญี่ปุ่นในปี 1979 เพื่อรองรับผู้ลี้ภัยจากอินโดจีน (เวียดนาม กัมพูชา และลาว) ตามคำสั่งของรัฐบาล พวกเขาให้ความช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ แก่ผู้ลี้ภัย ผู้อพยพ และผู้ที่ยื่นขอสถานะผู้ลี้ภัย โดยมีเป้าหมายในการตั้งถิ่นฐานใหม่

คนที่เดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่นและสมัครสถานะผู้ลี้ภัยและไม่มีเงินทุนส่วนตัวจะมีสิทธิ์ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินเป็นเวลาสี่เดือน ซึ่งครอบคลุมค่าครองชีพขั้นพื้นฐาน ค่าที่อยู่อาศัย และค่ารักษาพยาบาล ระยะเวลานี้สามารถขยายออกไปได้เป็นรายกรณี โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เช่น การเจ็บป่วย หรือการดูแลเด็กเล็ก

ในขณะที่รอการอนุมัติสถานะผู้ลี้ภัย ผู้สมัครส่วนใหญ่จะได้รับวีซ่า "กิจกรรมเฉพาะพิเศษ" " (Designated Activities) เป็นเวลาสองหรือสามเดือน สำหรับวีซ่าระยะกลางถึงระยะยาวที่อนุญาตให้มีการจ้างงานอาจต้องรอนานถึงเกือบหนึ่งปี หากไม่มีวีซ่าที่เหมาะสม ก็จะไม่มีการจ้างงาน ทำให้นี่เป็นขั้นตอนที่ยากที่สุดสำหรับผู้ลี้ภัย

สำหรับผู้ที่ได้รับสถานะผู้ลี้ภัย RHQ มีโครงการสนับสนุนด้านการศึกษาสำหรับผู้พำนัก หลักสูตรภาคกลางวันใช้เวลา 6 เดือน ในขณะที่หลักสูตรภาคค่ำมีระยะเวลา 1 ปี โดยจะสอนภาษาญี่ปุ่นและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ชีวิตในญี่ปุ่น หากใครมีปัญหาในการเดินทางไปเรียน ก็สามารถหาบ้านพักที่อยู่ไม่ไกลจากห้องเรียนได้

คำแนะนำด้านการใช้ชีวิตช่วยให้ผู้คนได้รับการประกันสำหรับบุตรหลาน เตรียมบุตรหลานให้พร้อมเข้าโรงเรียน และปฏิบัติตามกฎท้องถิ่นเรื่องการคัดแยกขยะ ซึ่งในระหว่างนี้ก็จะมีการสนับสนุนการจัดหางานให้ด้วย การจ้างผู้ลี้ภัยผ่านทาง RHQ ได้รับความสนใจจากอุตสาหกรรมในท้องถิ่นและหอการค้าอย่างต่อเนื่อง

เมื่อก่อนผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่มาจากเอเชีย แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีผู้ลี้ภัยจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่มาจากตะวันออกกลางและแอฟริกา ผู้ที่ได้รับสถานะผู้ลี้ภัยจำนวนมากที่สำเร็จการศึกษาในระดับวิทยาลัยหรือระดับบัณฑิตศึกษา และที่เข้าร่วมในโครงการสนับสนุนการตั้งถิ่นฐาน มีความหวังที่จะทำงานในหลากหลายสาขา เพื่อช่วยหางานให้เหมาะกับความสามารถของพวกเขา เราจำเป็นต้องสร้างสังคมที่เปิดรับผู้คนจากภูมิหลังทางวัฒนธรรม ศาสนา และสังคมที่หลากหลายมากขึ้น ท้ายที่สุดแล้วสิ่งสำคัญคือเราพยายามทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน

พนักงานกว่า 30% ของ UNIQLO GINZA มาจากต่างประเทศ เรามีมุมมองที่แตกต่างหลากหลาย

อารมณ์จะเปลี่ยนไปในแต่ละชั้น ไม่ว่าจะเป็นร้านกาแฟบนชั้น 12 หรือร้านดอกไม้ในชั้นแรก Thidar เป็นพนักงานที่เป็นผู้ลี้ภัยจากพม่า

เธอเป็นผู้ดูแลชั้นเสื้อผ้าสตรี และในภาพเธอกำลังอธิบายถึง UTme! ให้ลูกค้าฟัง

เธอเป็นผู้ดูแลชั้นเสื้อผ้าสตรี และในภาพเธอกำลังอธิบายถึง UTme! ให้ลูกค้าฟัง

เธอเป็นผู้ดูแลชั้นเสื้อผ้าสตรี และในภาพเธอกำลังอธิบายถึง UTme! ให้ลูกค้าฟัง

UNIQLO GINZA มีพนักงานที่หลากหลายเป็นพิเศษ เดินเพียงไม่กี่นาทีจากแยก Ginza 4-chome ไปยัง Ginza 6-chome ก็ถึงแล้ว จากพนักงานทั้งหมด 320 คน มี 110 คนมาจากต่างประเทศ (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2024) และพนักงาน 3 คนได้รับการว่าจ้างผ่านโครงการ RISE

ในช่วงบ่ายของวันธรรมดา ทั้ง 12 ชั้นของร้าน UNIQLO GINZA มักจะเต็มไปด้วยลูกค้าจากทั่วทุกมุมโลก ภาพสะท้อนของพนักงานที่หลากหลาย

แต่ละชั้นมีสไตล์การจัดและตกแต่งที่แตกต่างกัน แต่ทั้งร้านอาบไปด้วยแสงธรรมชาติที่ส่องเข้ามา ทำให้เดินชมสินค้าได้อย่างเพลิดเพลิน ชั้น 12 ชั้นบนสุดมีพื้นที่สำหรับร้านกาแฟที่เรียบง่ายและเรียงรายด้วยโซฟาติดผนัง เหมาะสำหรับนั่งพักผ่อนจากการเดินทาง นี่มันกินซ่าหรือนิวยอร์กกันแน่

นั่นเป็นคำถามที่ดี ถ้าได้ฟังลูกค้าที่กำลังพูดคุยกัน คุณก็จะได้ยินภาษาอังกฤษพร้อมกับภาษาอื่นๆ อีกหลายภาษา ภาพของลูกค้าที่รู้สึกเหมือนอยู่บ้าน และพนักงานที่คอยช่วยเหลือพวกเขาทำให้ร้านมีบรรยากาศที่เงียบสงบ

ที่ชั้น 5 มีจุดทำสินค้า UTme! ที่คุณสามารถสร้างสรรค์เสื้อเชิ้ตและกระเป๋าสะพายแบบออริจินัลจากภาพถ่ายและภาพวาดที่คุณชื่นชอบ Thidar เป็นพนักงานประจำเคาน์เตอร์ ซึ่งได้รับการว่าจ้างผ่านโครงการ RISE

ยื่นขอลี้ภัยแต่ไม่ได้ผล

Thidar หนีออกจากพม่าไปประเทศญี่ปุ่นในปี 2007

พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ต่อมาถูกญี่ปุ่นยึดครองในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง จากนั้นในปี 1948 หลังสงคราม พวกเขาประกาศเอกราชเป็นสหภาพพม่า (และเปลี่ยนชื่อเป็นสหภาพเมียนมาร์ในปี 1989 โดยรัฐบาลทหาร)

เมียนมาร์เผชิญกับรัฐประหารและความขัดแย้งอยู่บ่อยครั้ง โดยมีการปกครองแบบเผด็จการที่ดำเนินมาจนถึงทุกวันนี้ การกดขี่และการสู้รบกันด้วยอาวุธในเมียนมาร์รุนแรงขึ้นในปี 2021 และจากข้อมูลของ UNHCR (สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ) ระบุว่า ผู้คนกว่า 61,700 คนได้ขอลี้ภัยในรัฐใกล้เคียงและที่อื่นๆ ในขณะที่กว่า 2.9 ล้านคนถูกบังคับให้ย้ายถิ่นฐานภายในประเทศ

เมื่อเผด็จการสั่งห้ามการชุมนุมของประชาชนในปี 2007 Thidar เริ่มกังวลเรื่องความปลอดภัยของตัวเอง เธอจึงติดต่อพี่สาวและพี่เขยของเธอที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่น หลังจากนั้นเธอก็หันหลังให้กับประเทศเมียนมาร์จนถึงตอนนี้

เมื่อเธอมาถึงญี่ปุ่น เธอได้ยื่นขอสถานะผู้ลี้ภัยที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง แต่ถูกปฏิเสธ แต่สิ่งที่เธอได้รับคือวีซ่า "กิจกรรมเฉพาะพิเศษ" (Designated Activities) ซึ่งเป็นวีซ่าที่ออกโดยกระทรวงยุติธรรมที่อนุญาตให้ทำงานบางประเภทได้ในระยะเวลาตั้งแต่สามเดือนถึงห้าปี ในกรณีของธิดาคือหกเดือน ก่อนจะถึงกำหนด เธอสามารถไปที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและสัมภาษณ์ หากเคสของเธอพิเศษมากพอ เธออาจได้รับการขยายเวลาออกไป

Thidar ต่ออายุวีซ่าหกเดือนของเธอได้หลายครั้ง ต่อมาก็มีการต่ออายุทีละหนึ่งปี ในที่สุดเธอก็ได้รับสถานะผู้ลี้ภัยในปีที่หกที่เธออยู่ในญี่ปุ่น

ในระหว่างนั้น เธอเคยทำงานที่ร้านแฮมเบอร์เกอร์และร้านยากิโทริ ในช่วงแรกๆ เนื่องจากเธออ่านภาษาญี่ปุ่นไม่ได้ จึงเป็นเรื่องยากที่จะเรียนรู้เมนูและรับออเดอร์อย่างไม่ผิดพลาด แต่การต้องโต้ตอบกับลูกค้าสอนเธอว่า ถ้าจะใช้ชีวิตและทำงานในญี่ปุ่น เธอจำเป็นต้องมีทักษะด้านภาษาที่แข็งแรง เพื่อนของเธอจึงแนะนำให้เธอไปที่มูลนิธิสวัสดิการสังคมที่ชื่อ Support21 ซึ่งเชี่ยวชาญด้านการให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยเพื่อให้ใช้ชีวิตได้อย่างพึ่งพาตัวเองได้ เขามีสอนภาษาญี่ปุ่นด้วย ซึ่งเธอก็เริ่มเข้าเรียนและทุ่มเทเวลาว่างส่วนใหญ่ให้กับการเรียน

การประชุมช่วงเช้าที่ชั้น 12 ของ UNIQLO GINZA นี่เป็นเช้าที่พิเศษ เพราะพวกเขาเฉลิมฉลองครบรอบสิบปีของการทำงานของพนักงานคนหนึ่ง

การประชุมช่วงเช้าที่ชั้น 12 ของ UNIQLO GINZA นี่เป็นเช้าที่พิเศษ เพราะพวกเขาเฉลิมฉลองครบรอบสิบปีของการทำงานของพนักงานคนหนึ่ง

รู้จักกับยูนิโคล่ในคลาสเรียนภาษาญี่ปุ่น

ในขณะที่เธอพยายามเริ่มต้นชีวิตใหม่ Thidar ก็ได้ข่าวว่าแม่ของเธอที่พม่าล้มป่วย และเพราะเธอต้องส่งเงินกลับบ้านไปช่วยค่ารักษาพยาบาลแม่ เธอจึงประสบปัญหาการเงินติดขัดอยู่ช่วงหนึ่ง และตอนนี้เองที่เธอเริ่มมองหาแหล่งรายได้ที่มั่นคงและวิถีชีวิตที่สงบสุขมากขึ้น

อยู่มาวันหนึ่ง ครูสอนภาษาญี่ปุ่นก็ถามเธอว่า "Thidar คุณอยากทำงานที่ยูนิโคล่ไหม" เธอชอบแฟชั่นและสนใจงานนี้ เธอมองว่านี่เป็นสัญญาณที่บอกว่าภาษาญี่ปุ่นของเธอพัฒนาขึ้นแล้ว Support21 ช่วยให้คำแนะนำในการเขียนเรซูเม่และกรอกใบสมัคร ซึ่งช่วยให้เธอรวบรวมเอกสารทุกอย่างได้

เมื่อเธอได้รับเลือกจากโครงการ RISE แล้ว Thidar ได้สัมภาษณ์กับครูคนหนึ่งที่มองว่าความสามารถภาษาญี่ปุ่นของเธอดีเพียงพอ หลังจากนั้นไม่นาน เธอก็เริ่มทำงาน พร้อมกับเรียนภาษาที่ทาง RISE จัดให้ควบคู่กันไปด้วย Thidar บอกว่าเธอยังคงจำความรู้สึกโล่งใจและความวิตกกังวลที่ปนกันได้ดี

โครงการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยของยูนิโคล่เปิดตัวในปี 2011 บริษัท ร้านค้า และพนักงานได้รับประสบการณ์มากมาย เมื่อเวลาผ่านไป ปรัชญาการทำงานก็ชัดเจนขึ้น โดยมองว่าแม้ประสบการณ์ของแต่ละคนจะแตกต่างกัน แต่คุณสามารถสื่อสารกับผู้ลี้ภัยได้เหมือนกับพนักงานคนอื่นๆ โดยไม่ต้องปฏิบัติกับพวกเขาพิเศษมากเกินไป เพื่อให้เขาคุ้นเคยกับลักษณะของงาน

เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้วที่ UNIQLO จ้างงานผู้พิการ ซึ่งโครงการนี้แสดงถึงปรัชญาที่คล้ายกัน การปลูกฝังความเข้าใจและความร่วมมือทำให้ทีมงานแข็งแกร่งขึ้นและสื่อสารได้ดีขึ้น และในขณะเดียวกันก็ยกระดับประสบการณ์ในการช้อปปิ้งให้มีคุณภาพขึ้น นี่เป็นปรัชญาที่เราให้ความสำคัญกันทั่วทั้งบริษัท

พลเมืองญี่ปุ่นและการเป็นเจ้าของกิจการ

Thidar ได้ไปทำงานที่ UNIQLO GINZA

เมื่อเดินเข้าไปในพื้นที่เฉพาะของพนักงาน เธอก็เห็นป้ายที่เขียนในภาษาฮิรางานะและภาษาอังกฤษ เพื่อให้พนักงานที่ยังเรียนภาษาญี่ปุ่นอยู่สามารถอ่านได้ง่าย เธอรู้สึกอุ่นใจที่เห็นว่าพนักงานหลายคนก็เป็นผู้ลี้ภัยเหมือนกัน ที่สำคัญที่สุด เธอรู้สึกตื่นเต้นที่ได้ทำงานในอุตสาหกรรมเสื้อผ้า

ที่น่าแปลกคือบ่อยครั้งคนจะเข้ามาพูดคุยกับเธอเป็นภาษาญี่ปุ่น เพราะรูปลักษณ์ของเธอ พวกเขาจะพูดราวกับว่าเธอจะเข้าใจว่าพวกเขาพูดอะไร แต่บางครั้งเธอก็ตามไม่ทัน "ขอโทษนะคะ คุณช่วยพูดอีกครั้งได้ไหมคะ" เธอถาม และเมื่อพวกเขาเหลือบมองป้ายชื่อของเธอแล้วพูดว่า "โอ้ว คุณไม่ใช่คนญี่ปุ่น" ก็จะพยายามพูดให้ช้าลง แม้อาจจะน่าหงุดหงิดอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้เลวร้ายอะไร Thidar รู้สึกขอบคุณที่ลูกค้ายินดีที่จะปรับความเร็วเพื่อให้เธอฟังเข้าใจขึ้น

ในช่วงแรกๆ ของการประชุมช่วงเช้า เธอเข้าใจสิ่งที่พูดได้เพียงยี่สิบเปอร์เซ็นต์เท่านั้น แต่เมื่อขอให้เพื่อนร่วมงานช่วยอธิบาย เธอก็สามารถเข้าใจได้ ทุกอย่างแก้ไขได้ด้วยการถามคำถาม เธอเพิ่งเข้าใจสิ่งนี้

เธอได้เรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่าง การลดขยะพลาสติกมีกระบวนการอย่างไร การรีไซเคิลเสื้อผ้าและการส่งเสื้อผ้าที่ยังใส่ได้ให้กับผู้ลี้ภัยทั่วโลกสำคัญเพียงใด การทำงานที่ UNIQLO Ginza ทำให้เธอได้มีโอกาสเรียนรู้จากการทำงาน และได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับโครงการความยั่งยืนของ UNIQLO

ปัจจุบันธิดากำลังคิดที่จะสมัครเป็นพลเมืองของญี่ปุ่น เธอดูข่าวเกี่ยวกับประเทศพม่าทุกวัน แต่ดูเหมือนสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น พนักงานที่ร้าน UNIQLO Ginza ใจดี มันเป็นงานที่คุ้มค่าที่จะทำ เธอคุ้นชินกับการใช้ชีวิตในญี่ปุ่นแล้ว เธอได้พบกับชีวิตที่มั่นคง สักวันหนึ่งเธอมีความฝันที่จะเปิดร้านเสื้อผ้าของตัวเอง ซึ่งเป็นความฝันที่เป็นแรงผลักดันให้เธอสมัครเป็นพลเมืองญี่ปุ่น

Yuki Koda

Yuki Koda

ผู้จัดการ UNIQLO GINZA

ความแตกต่างเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ แต่เราทุกคนพยายามเข้าถึงสิ่งต่างๆ จากมุมมองเชิงบวก

ที่ UNIQLO GINZA เราต้อนรับลูกค้าจากกว่า 130 ประเทศเป็นประจำ ก่อนที่จะมาทำงานที่ร้านกินซ่า ฉันเคยทำงานในตำแหน่งผู้จัดการของยูนิโคล่ในนิวยอร์กซิตี้ ที่อเมริกา มันไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่พนักงานจะมีรากฐานมาจากหลายที่ ไม่ว่าจะเป็นอเมริกาใต้ จีน ยุโรป เอเชีย หรือแอฟริกา บางครั้ง ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษมีหลายระดับก็จริง แต่ทุกคนก็พยายามอย่างเต็มที่ ดังนั้นอุปสรรคทางภาษาจึงไม่เป็นปัญหามากนัก สิ่งที่ฉันสังเกตเห็นตั้งแต่กลับมาญี่ปุ่นคือการไม่ยอมรับความคิดที่แตกต่างเล็กๆ น้อยๆ แต่การวิจารณ์เชิงสร้างสรรค์บ้างก็เป็นสิ่งที่ดีนะ หากคุณมองสิ่งต่างๆ ด้วยมุมมองเชิงบวก การปรับเปลี่ยนก็จะง่ายขึ้น นี่คือวิธีการทำงานของฉัน

Takaya Nagai

Takaya Nagai

รักษาการแทนผู้จัดการ UNIQLO GINZA

การสร้างพื้นที่ระดับโลกสำหรับคนทุกสัญชาติ

ที่ UNIQLO GINZA เรามีพนักงาน 320 คนที่ โดยกว่า 30% มาจากต่างประเทศ คุณจะได้ยินพวกเขาคอยให้ความช่วยเหลือลูกค้าเป็นภาษาญี่ปุ่น อังกฤษ และจีนทุกวัน รวมถึงภาษาเกาหลี ฝรั่งเศส รัสเซีย ไทย มองโกเลีย หรือเวียดนาม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกะการทำงาน ช่วงหลังมานี้ลูกค้ามักจะใช้แอปพลิเคชันแปลภาษา ซึ่งช่วยลดอุปสรรคด้านภาษาได้อย่างมาก พื้นฐานของการบริการที่ยูนิโคล่คือ "การบริการตัวเอง" เพื่อให้ลูกค้าเดินสำรวจร้านค้าได้อย่างมีอิสระ หากใครต้องการความช่วยเหลือ เราก็ให้ความช่วยเหลืออย่างสุภาพและนอบน้อม เราต้องการสร้างพื้นที่ระดับโลกสำหรับคนทุกสัญชาติ ทั้งพนักงานหรือลูกค้า ผมคิดว่าสิ่งนี้ทำให้ร้านของเรามีบรรยากาศสบายๆ ที่ใครๆ ก็รู้สึกเหมือนอยู่บ้าน

ความคิดเห็นจากพนักงานของ UNIQLO GINZA

Kayo (ญี่ปุ่น)

Kayo (ญี่ปุ่น)

นี่คือที่ที่ฉันมองเห็นการเติบโตของตัวเอง ฉันสามารถทำงานที่นี่ได้แม้จะตั้งครรภ์ได้เจ็ดเดือนแล้วก็ตาม

Gerald (ฟิลิปปินส์)

Gerald (ฟิลิปปินส์)

ผมมีโอกาสได้ฝึกฝนทักษะการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฟิลิปปินส์ในทุกๆ วัน ทำให้การทำงานเป็นเรื่องสนุก

Natalya (รัสเซีย)

Natalya (รัสเซีย)

ประมาณหนึ่งปีที่แล้ว ฉันเปลี่ยนจากร้านในชินจูกุมาที่ UNIQLO GINZA ฉันชอบพบปะลูกค้าจากทั่วทุกมุมโลก

Ayaka (ญี่ปุ่น)

Ayaka (ญี่ปุ่น)

การได้พูดคุยกับผู้คนจากภูมิหลังที่หลากหลายและหาวิธีช่วยเหลือพวกเขาช่วยสร้างความหมายให้กับงานนี้ยิ่งขึ้น

ศศิธร (ไทย)

ศศิธร (ไทย)

พอฉันได้ยินคนพูดภาษาไทย ฉันจะหันไปทักทาย นี่เป็นงานที่ส่งเสริมการเติบโตทางศักยภาพอย่างมาก

Lin (จีน)

Lin (จีน)

ฉันมีลูกสามคน การทำงานและเลี้ยงลูกไปพร้อมๆ กันเป็นเรื่องยาก แต่ฉันก็พร้อมสำหรับความท้าทาย ฉันอยากให้ชั้นขายสินค้าของเราโดดเด่น

Yuiko (ญี่ปุ่น)

Yuiko (ญี่ปุ่น)

การได้มีส่วนร่วมในการดูแลสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสนุก ไม่เพียงแต่สำหรับลูกค้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงพนักงานด้วย

ทีมงานประกอบด้วยผู้จัดการร้าน พนักงานฝึกอบรม ผู้ที่มีประสบการณ์ในร้านค้ามาก่อน และพนักงานที่รับเข้ามาจาก RISE ซึ่งมีบทบาทที่แตกต่างกัน แต่ทั้งหมดทำงานเพื่อเป้าหมายเดียวกัน

ทีมงานประกอบด้วยผู้จัดการร้าน พนักงานฝึกอบรม ผู้ที่มีประสบการณ์ในร้านค้ามาก่อน และพนักงานที่รับเข้ามาจาก RISE ซึ่งมีบทบาทที่แตกต่างกัน แต่ทั้งหมดทำงานเพื่อเป้าหมายเดียวกัน

UNIQLO GINZA

ที่อยู่:

1F-12F, Ginza Komatsu East Wing, 6-9-5 Ginza, Chuo-ku, Tokyo

เวลาเปิดทำการ:

11 AM – 9 PM

คอลเลคชัน:

ผู้หญิง ผู้ชาย เด็ก ทารกแรกเกิด คุณแม่ตั้งครรภ์

ข้อมูลการเดินทาง:

เดินทางด้วยรถไฟใต้ดินสาย Tokyo Metro Ginza ไปยัง Ginza และใช้ทางออก A2 จากนั้นเดินอีก 4 นาที

รักษาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เดินไปด้วยกัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

รักษาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เดินไปด้วยกัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

Ayaki Ito

UNHCR, ตัวแทนประเทศญี่ปุ่น

UNHCR, ตัวแทนประเทศญี่ปุ่น

ในช่วงเจ็ดทศวรรษนับตั้งแต่การก่อตั้งของ UNHCR ซึ่งเป็นหน่วยงานผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ เพื่อให้ความช่วยเหลือและหาแนวทางแก้ไขแก่ผู้ลี้ภัยที่รอดพ้นจากการทำลายล้างอันเกิดจากสงครามโลกครั้งที่สองในยุโรป สถานการณ์ผู้ลี้ภัยทั่วโลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ จำนวนผู้ที่ถูกบีบบังคับให้หนีออกนอกประเทศอันเนื่องมาจากความขัดแย้ง การถูกทำร้าย ความรุนแรง หรือการละเมิดสิทธิมนุษยชน ขณะนี้มีมากถึง 110 ล้านคนทั่วโลก

ความมีน้ำใจและให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยเป็นเรื่องท้าทาย โดยเฉพาะในประเทศที่ให้ที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัย แม้แต่ประเทศที่เคยให้ความสนับสนุนผู้ลี้ภัยทั้งทางจิตใจและทางวัตถุในอดีตก็ยังต้องเผชิญกับความท้าทายในการให้ความช่วยเหลืออย่างเพียงพอในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในศตวรรษที่ 21 เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงจากความร่วมมือระหว่างประเทศแบบพหุภาคีไปสู่ลัทธิฝ่ายเดียวที่เน้นตนเอง ทุกวันนี้ บ่อยครั้งที่เราได้ยินถึงความกังวลว่าผู้ลี้ภัยอาจทำให้เกิดความตึงเครียดและก่อให้เกิดความแตกแยกภายในประเทศ

ฉันคิดว่าในญี่ปุ่น พอคนได้ยินคำว่า "ผู้ลี้ภัย" หลายคนคงรู้สึกเห็นอกเห็นใจพวกเขา แต่ก็คิดว่าเขาช่วยอะไรไม่ได้และมองว่าเป็นปัญหาที่แก้ได้ยาก นอกจากนี้ เมื่อผู้คนได้ยินคำว่า "สงครามกลางเมือง" และ "การเมือง" พวกเขาอาจคิดว่าถ้าไม่เข้าไปยุ่งเรื่องนี้จะดีกว่า

ญี่ปุ่นในยุคหลังสงครามไม่เคยประสบเหตุสงครามกลางเมือง แต่แม้กระนั้น ทุกคนในญี่ปุ่นสามารถจินตนาการถึงสถานการณ์ที่พวกเขาสูญเสียบ้านกะทันหันจากเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ที่อาจทำให้พวกเขาต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ท้าทายหลังจากอพยพ

ซึ่งไม่ต่างจากผู้ลี้ภัยมากนัก พวกเขาคือคนธรรมดา ที่จู่ๆ ก็ถูกบีบบังคับให้ออกจากประเทศ การลองเอาใจเขามาใส่ใจเราแบบนี้ช่วยให้เราเข้าใจสถานการณ์ของคนอื่นได้ดีขึ้น

รักษาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เดินไปด้วยกัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

ในฐานะหน่วยงานด้านมนุษยธรรม UNHCR ให้ความช่วยเหลือผู้พลัดถิ่นในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง หรือในประเทศเพื่อนบ้านที่พวกเขาหลบหนีไป

แต่นี่ไม่ได้แก้ปัญหาทุกอย่าง ในสถานการณ์ที่คนไม่สามารถกลับบ้านเกิดได้ หรือที่พวกเขามองหาชีวิตใหม่ในสถานที่ที่มีภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างออกไป รัฐบาลระดับชาติและระดับท้องถิ่นจำเป็นต้องทำงานร่วมกับองค์กรที่มีประสบการณ์ เพื่อพัฒนากลยุทธ์เพื่อช่วยเหลือและต้อนรับพวกเขาเข้าสู่สังคม มิฉะนั้นผู้ลี้ภัยจะรู้สึกโดดเดี่ยวและไม่สามารถหาเลี้ยงชีพได้ หากพวกเขาไม่ได้รับความช่วยเหลือจากทั้งรัฐบาลที่เป็นเจ้าบ้านและสังคมโดยรวม ผู้ลี้ภัยก็จะไม่มีอนาคตที่มั่นคง

ฉันเชื่อมั่นในพลังของภาคเอกชนอย่างมาก ฉันหวังว่าบริษัทต่างๆ จะทำตามตัวอย่างโครงการสนับสนุนและเสริมศักยภาพผู้ลี้ภัย (RISE) ของ UNIQLO ซึ่งช่วยให้ผู้ลี้ภัยสามารถพึ่งพาตนเองได้ โปรแกรมนี้มุ่งสร้างพื้นฐานให้ผู้ลี้ภัยในการเรียนรู้ภาษา วัฒนธรรม และธรรมเนียมต่างๆ ที่จำเป็นในการใช้ชีวิตอย่างอิสระ และมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้ดีขึ้นในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของสังคม การทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งและช่วยเหลือซึ่งกันและกันจะนำมาซึ่งผลเชิงบวกที่ยิ่งใหญ่กว่าที่เราคิด

เมื่อผู้ลี้ภัยเริ่มทำงานและมีที่ยืนในชุมชน คำว่า "ผู้ลี้ภัย" ก็กลายเป็นคำที่ไม่จำเป็นอีกต่อไป เพื่อรักษาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เราต้องสนับสนุนและเดินเคียงข้างกัน การช่วยให้ผู้ลี้ภัยได้แสดงความสามารถของตนเองเป็นการยกระดับชุมชนของเราทั้งหมด

ในการพัฒนาตนเองและสร้างสังคมที่ยั่งยืน เราต้องสร้างสังคมที่ให้การต้อนรับผู้ลี้ภัย ฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคุณจะยื่นมือเข้าไปช่วย

แชร์